วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร


ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร
                เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1981 : 265) ได้กล่าวถงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้
                1.การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอน
                2.การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด
                3.การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรม
                4.การประเมินผลการสอบ
                5.การประเมินผลโครงการประเมินผล
                สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 141-142) ได้กำหนดขอบเขตการประเมินผลหลักสูตรไว้ดังนี้
                1.ประเมินหลักสูตรความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
                2.ประเมินโครงการทั้งหมดของโรงเรียน
                3.ประเมินโครงการเฉพาะส่วน
                4.ประเมินการเรียนการสอน
                5.ประเมินโครงการการประเมินผล
                จากขอบเขตการประเมินผลหลักสูตรที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะเห็นได้ว่าการประเมินหลักสูตรนั้นสามารถทำได้ในขอบเขตที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการประเมินหรือสิ่งที่เราต้องการตรวจสอบและระยะของการประเมิน

ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตร


ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตร
          1.  ช่วยให้ความมุ่งหมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายในการสอนกระจ่างขึ้น  เพราะถ้าคลุมเครือก็วัดไม่ได้  ต้องตีความหมายให้กระจ่างเสียก่อนจึงประเมินได้
          2.  ช่วยส่งเสริมการสอนในโรงเรียนให้ดีขึ้น  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะมีลักษณะเป็นผลสะท้อนไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรและการสอน
          3.  ส่งเสริมการเรียนของนักเรียน  เมื่อความมุ่งหมายกระจ่างแล้ว  นักเรียนก็สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าตนเองประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  เป็นการให้แรงจูงใจแก่นักเรียน
          4.  ช่วยในการแนะแนวของครู  ข้อมูลต่างๆ ที่ครูรวบรวมได้เกี่ยวกับนักเรียนจะเป็นประโยชน์ต่อการแนะแนวไปในตัวด้วย
          5.  ช่วยในด้านการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนของนักเรียน เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของโรงเรียนและชุมชนไปในตัวด้วย  ประโยชน์ข้อนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเทคนิคในการรายงานผลการเรียนของนักเรียนไปสู่ผู้ปกครอง ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันช่วยให้เกิดประโยชน์ข้อนี้น้อยมาก

ระยะการประเมินผลหลักสูตร


ระยะการประเมินผลหลักสูตร
        การประเมินผลหลักสูตร  โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น  3  ระยะ  คือ
          ระยะที่ 1 ประเมินผลหลักสูตรก่อนโครงการ  คือ การประเมินผลหลักสูตรก่อนที่จะนำไปใช้ (Project  Analysis) เป็นการประเมินผลหลักสูตร  เมื่อสร้างเสร็จแล้วผู้สร้างประเมินดูว่าหรือไม่เพียงใด มีข้อที่ควรแก้ไขปรับปรุงอะไรบ้าง อาจให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์หรือวิจัยดูก็ได้
          ระยะที่ 2 ประเมินผลหลักสูตรในขณะที่ดำเนินการ  ว่าหลักสูตรที่ทำขึ้นนั้นนำไปทดลองแล้วได้ผลเพียงใด เช่น หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 มีการทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2519 และ 2520 เพื่อหาข้อบกพร่อง อุปสรรค  จะได้แก้ไขให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป
          ระยะที่ 3  ประเมินผลเมื่อจบโครงการ  หรือประเมินผลเมื่อประกาศใช้หลักสูตรแล้ว  เป็นการประเมินผลหลักสูตรที่ใช้อยู่เพื่อที่จะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป
          ในการประเมินผลหลักสูตรนั้นมีข้อควรระวังอยู่  2  ประการด้วยกันคือ
          1.  กฎข้อที่ 1    ถ้าผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินมีปรัชญาเดียวกัน   หรือเป็นพวกเดียวกัน  ผลการประเมินจะออกมาว่า ดี เป็นส่วนใหญ่
          2.  กฎข้อที่ 2   ถ้าผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินมีปรัชญาต่างกัน  หรือเป็นฝ่ายตรงกันข้าม ผลการประเมินจะออกมาว่า ไม่ดี เป็นส่วนใหญ่  (โกวิท  ประวาลพฤกษ์, 2523, หน้า 13)
          ดังนั้น  การประเมินผลหลักสูตรที่จะไม่ให้เกิดความลำเอียงดังกล่าว  จะทำได้โดยประเมินโดยยึดที่จุดมุ่งหมาย  เป้าหมาย  หรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเป็นประการสำคัญ

ระบบการประเมินหลักสูตร

ระบบการประเมินหลักสูตร  คือ ขั้นสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตร  การประเมินหลักสูตร คือ กระบวนการเปรียบเทียบระหว่างผลการใช้หลักสูตรที่วัดได้กับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรว่าการปฏิบัติจริงนั้น  ผลได้ใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตามมาตรา 22


     ในหมวด ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา  จะกล่าวถึงหลักการสำคัญของการจัดกระบวน
การเรียนการสอน (มาตรา 22)  ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและสาระเนื้อหาของหลักสูตร (มาตรา 23
และ 27)  กระบวนการจัดการ (มาตรา 24) และการประเมินผล (มาตรา 25)  องค์กรที่จัดทำ
หลักสูตร (มาตรา 26) และเงื่อนไขของความสำเร็จอื่นๆ
          มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้
และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

          มาตรา 22 ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
เพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้  และการตีความ  นอกจากนั้นในปรัชญา
การเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียน
และการสอนของครูมาตรา 22  จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญ
ที่สุด"

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้


ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1.การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2.การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3.การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4.ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน 
บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1. ผู้บริหารโรงเรียน
2. หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
3. ครูผู้สอน

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้


บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
1.นักวิชาการ  นักวิชาการและศึกษานิเทศก์ให้บุคคลที่ให้การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ  ประสานงาน  ให้คำแนะนำ
2.ผู้บริหารโรงเรียน  ให้การสนับสนุนการนำหลักสูตรไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ  ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร  สามารถบริหารหลักสูตร
3.หัวหน้าหมวด  ดำเนินการส่งเสริมการใช้หลักสูตรต้องมีความเข้าใจหลักสูตรในสาระที่ตนรับผิดชอบ  และวางแผนดำเนินงานการใช้ระดับของตนเองได้อย่างเหมาะสม  มีประสิทธิภาพ
4.ครูผู้สอน ในฐานะเป็นผู้ใช้หลักสูตรโดยตรงและโดยอ้อมคือเข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรในระดับต่างๆ  และเป็นผู้ติดตามการใช้หลักสูตรอย่างใกล้ชิด
5.บุคลากรอื่น  ทั้งภายในสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษา  ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการใช้หลักสูตร  และเสนอแนะความคิดเห็น

แบบจำลองของโอลิวา



แบบจำลองของพริ้นท์



แบบจำลองสกิลเบค


แบบจำลองสกิลเบค
    แบบจำลองปฏิสัมพันธ์หรือแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่งที่กำหนดโดยสกิลเบคซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตรของประเทศออสเตรเลียเป็นนักการศึกษาที่เป็นที่รู้จักกันดีในปี ค.ศ.1976 ได้แนะนำวิธีการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรโดยอาศัยโรงเรียนเป็นฐาน  (School-Based Curriculum Development: SBCD) สกิลเบคจัดเตรียมแบบจำลองที่ทำให้ครูสามารถพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมบนพื้นฐานของความเป็นจริง แบบจำลองดังกล่าวนี้อาจได้รับการพิจารณาว่าเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติซึ่งเป็นความตั้งใจอันแน่วแน่ของสกิลเบค
                แบบจำลองปฏิสัมพันธ์หรือแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง (เคลื่อนไหว) เป็นแบบจำลองที่ผู้พัฒนาอาจจะตั้งต้นด้วยองค์ประกอบใดๆ ของหลักสูตร และดำเนินไปตามลำดับใดๆ ก็ได้มากกว่าที่จะตรึงติดอยู่กับขั้นตอน  เช่น แบบจำลองเชิงเหตุผล สกิลเบคสนับสนุนความคิดนี้และกล่าวว่า เป็นความสำคัญที่ผู้พัฒนาหลักสูตรต้องรับรู้แหล่งที่มาของจุดประสงค์เหล่านั้นและในการที่จะเข้าใจแหล่งที่มานี้มีการวิเคราะห์สถานการณ์
                 สกิลเบคให้เหตุผลว่าเพื่อให้ศูนย์พัฒนาหลักสูตรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ต้องอาศัยกระบวนการห้าขั้นในกระบวนการหลักสูตร  แบบจำลองความประยุกต์ให้มีความเท่าเทียมกันในกระบวนการหลักสูตร ระบบการสังเกต และประเมินผลหลักสูตร และการวิเคราะห์ทฤษฎีหลักสูตร
                 สกิลเบคไม่เห็นด้วยกับลำดับเหตุผลของแบบจำลองเหตุผลว่าเป็นเหตุผลโดยธรรมชาติแนะนำว่าผู้พัฒนาหลักสูตรอาจจะเริ่มต้น  การวางแผนหลักสูตรในขั้นๆ ก่อนก็ได้  และจะดำเนินในลำดับใดๆ   ก็ได้  บางครั้งแบบจำลองนี้ก่อให้เกิดความสับสนคือ  ในความเป็นจริงแล้วดูเหมือนสนับสนุนวิธีการเชิงเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร  อย่างไรก็ตาม  สกิลเบคกล่าวว่า  แบบจำลองไม่ได้แสดงนัยของการวิเคราะห์วิธีการและจุดหมายปลายทาง  แต่แสดงนัยในการสนับสนุนทีมหรือกลุ่มผู้พัฒนาหลักสูตรให้พิจารณาข้อความจริงเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่แตกต่างกัน  เพื่อให้มองกระบวนการว่าเป็นสิ่งมีชีวิต  และทำงานในลักษณะของวิธีการเชิงระบบ
        Skillbike Model
The interactive model or dynamic model set by Skylark, the former director of the Australian Curriculum Development Center, is a well-known educator. Creating a school-based curriculum that is part of supporting school-based curriculum development. Skillbeck provides a model that enables teachers to develop the right curriculum based on reality. This model may be considered a natural movement, which is the intent of Skylark.
An interaction model or a non-stationary model (motion) is a model that the developer may begin with any element of the course and proceed in any order. It's more like sticking to a step like a logical model. Skywalk supports this idea and says, It is important that curriculum developers recognize the source of those goals, and in order to understand this source, there is an analysis of the situation.
To Skillbeck argues that in order for the curriculum development center to function effectively. The process requires five steps. Equivalent application model in curriculum process. Observation system And evaluation of the curriculum. And analysis of course theory.
To Skillbeck disagreed with the rational order of the model. The reasoning is that the natural reason suggests that the course developer may begin. Planning the course in advance, and it will take place in any order. Sometimes, this model is confusing. In fact, it seems to support the rational approach to curriculum development. so anyway Skilling said. Modeling does not imply an analysis of the way and destination. In the support of the team or group of course developers, consider the actual message about the components and characteristics of the different course development processes. To look at the process as a creature. And work in a systematic way


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

กฎของหัวแม่มือ


กฎของหัวแม่มือ (Rule of Thump)
ตามประวัติที่สืบค้น คำๆ นี้แรกเริ่มมาจากช่างไม้ในอดีตที่วัดความยาววัสดุไม้เวลาทำตู้โต๊ะตั่งเตียง เป็นการวัดอย่างหยาบๆ เอาความยาวของนิ้วมือมาเป็นมาตรวัด เป็นการใช้ประสบการณ์ที่ฝึกฝนมา ไม่ได้มีทฤษฎีอะไรรองรับ
ต่อมาถูกนำไปใช้ในการตอบคำถามที่บางครั้งไม่รู้เหมือนกันว่าจะตอบอย่างไร ในบางครั้งบางเวลาถูกถามว่า ทำไมทำอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น หรือคิดอย่างนั้น เราก็ไม่รู้เหมือนกัน เพียงแต่คิดว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น ก็เลยตัดสินใจอย่างนั้นไป
กฎของหัวแม่มือ บางทีก็รวมๆ เรียกกฎแห่งนิ้วมือ คือนิ้วมือมันถูกเรียงเป็นลำดับจากนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย แล้วโดยทั่วไป นิ้วโป้งจะสั้น นิ้วชี้จะยาวขึ้น นิ้วกลางมักจะยาวที่สุด พอถึงนิ้วนางจะสั้นลง แล้วนิ้วสุดท้ายคือนิ้วก้อยก็จะสั้นที่สุดอีกด้านหนึ่ง
ถามว่ามันมีตรรกะอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า ก็ต้องตอบว่ามันไม่มีในทางวิทยาศาสตร์ แต่มันเหมือนกับว่า เมื่อเริ่มต้นที่หนึ่ง มันก็ควรตามด้วยสอง สาม สี่ ห้า ไปเรื่อยๆ
แม้ว่าในโลกแห่งความเป็นจริงมันอาจจะกระโดดจากหนึ่งเป็นอย่างอื่นก็ได้ อย่างที่มีหลายคนพูดว่า “The whole is not the sum of the parts” หรือ ผลลัพธ์ที่เป็นมากกว่าผลรวมซึ่งถูกอธิบายว่า 1+1 อาจเท่ากับ 1, 3 หรือ 4 หรือจำนวนอื่นก็ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องเท่ากับ 2 เสมอไป
คำที่มีความหมายเช่นนี้ในภาษาอังกฤษมีใช้กันเยอะมาก บ้านเราก็มีใช้บ้าง ที่ได้ยินบ่อยๆก็เช่นคำว่า สามัญสำนึก (common sense) ที่เขาพูดกัน (pattern language) หรือ องค์รวม (heuristic) เป็นต้น
Rule of Thump…a broadly accurate guide or principle, based on experience or practice rather than theory (a principle with broad application that is not intended to be strictly accurate or reliable for every situation. It is based on practical experience) (Right-hand rule, Oersted’s law, Rule of 72, Pattern language, Heuristic argument, Common sense, back-of-the-envelop calculation, Modulor, Satisficing)…Carpenter used thump as “inch”


แบบจำลองของทาบา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจําลองของทาบา



แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
      ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba 1962: 10) มีทั้งหมด 7 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน



แบบจำลองของไทเลอร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แบบจำลองของไทเลอร์

แบบจำลองของไทเลอร์
ไทเลอร์  (Tyler)  มีแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนในการกำหนดความมุ่งหมายของหลักสูตร  และใช้ในสังคมปัจจุบันเป็นพื้นฐาน  โดยพิจารณาจากกฎเกณฑ์ของสังคมความต้องการทางด้านความสงบสุข  กฎเกณฑ์และกฎหมาย  ระเบียบแบบแผน  รูปแบบและความประพฤติของแต่ละครอบครัว  การแต่งกาย  ความประพฤติและการพูดจา  ไทเลอร์ได้กระตุ้นให้คิดถึงบทบาทของนักพัฒนาหลักสูตรในการใช้สิ่งดังกล่าว  เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ในเรื่องการประเมินผล  ไทเลอร์ชี้ให้เห็นว่าจะต้องสอดคล้องกับความมุ่งหมายที่กำหนดไว้  ปรัชญาการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์  คือ  การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน  และครูจะกำหนดจุดประสงค์อย่างไรให้สนองความต้องการของบุคคล  ไทเลอร์ได้กล่าวว่า  การพัฒนาหลักสูตรเป็นความจำเป็นที่จะต้องกระทำอย่างมีเหตุผลและอย่างมีระบบโดยได้พยายามที่จะอธิบาย  “…..เหตุผลในการมอง  การวิเคราะห์และการตีความหลักสูตร  และโปรแกรมการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา”  ต่อจากนั้นยังได้โต้แย้งอีกด้วยว่าในการพัฒนาหลักสูตรใด ๆ จะต้องตอบคำถาม   4 ประการคือ
 1. ความมุ่งหมายอะไรทางการศึกษาที่โรงเรียนควรจะแสวงหาเพื่อที่จะบรรลุความมุ่งหมายนั้น
 2. ประสบการณ์ทางการศึกษาคืออะไรที่จะสามารถจัดเตรียมไว้เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายเหล่านั้น (กลยุทธ์การเรียนการสอนและเนื้อหาวิชา : Instructional strategies and content)
  3. ประสบการทางการศึกษาเหล่นี้จะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร (การจัดประสบการณ์เรียนรู้: Organizing learning experiences)
   4. เราจะสามารถตัดสินได้อย่างไร ว่าความมุ่งหมายเหล่านั้นได้บรรลุผลแล้ว (การประเมินสถานการณ์และการประเมินผล: Assessment and evaluation)
Tyler's Model
(Tyler) has the concept of changing learners to the purpose of the curriculum. And use it in today's society as a basis. Considering the social norms, the need for peace. Rules and Regulations Convention The pattern and behavior of each family, dress, conduct and speech. Tyler urged to think about the role of course developers in using such things. For the benefit of curriculum development and teaching. In the evaluation. Tyler points out that must be consistent with the intended purpose. Tyler's curriculum development philosophy is learning to change learners' behaviors. How do teachers determine their purpose to meet the needs of the individual? Tyler has said. Curriculum development is a necessity that must be done logically and systematically. "... the reason for looking. Course Analysis and Interpretation And the educational program of the Academy " It also argues that in developing any curriculum, there are four questions to be answered:
1. What educational purpose should the school seek to achieve that purpose?
What are the educational experiences that can be provided to achieve those goals? (Instructional strategies and content)
3. How will this educational experience be effective? (Organizing learning experiences)
4. How can we judge? Those goals have already been achieved. (Assessment and Evaluation: Assessment and Evaluation)


กระบวนการพัฒนาหลักสูตร

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
                การแสวงหารูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะ รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรนั้นเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมาใช้จะต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม

สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกรบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
                การแสวงหารูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรนั้น เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมาใช้จะต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม

สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกรบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
                1. จัดวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตร
                2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                3. การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
                4. การกำหนดมาตรการวัดและประเมินผล
                5. การนำหลักสูตรไปใช้
                6. การประเมินผลการใช้หลักสูตร
                7. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2533 : 19) ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจรไว้ 3 ระบบโดยเริ่มต้นจากระบบการร่างหลักสูตร ระบบการนำหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตรซึ่งแต่ละระบบมีรายละเอียดและขั้นตอนดังต่อไปนี้
                1. ระบบการร่างหลักสูตร ประกอบด้วย การกำหนดหลักสูตร โดยดูดความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองหลังจากนั้นกำหนดรูปแบบหลักสูตร ได้แก่ การกำหนดหลักการ โครงร้าง องค์ประกอบหลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์การเรียนและการประเมินผลกหลังจากนั้นดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ หรือการสัมมนาและมีการทดลองนำร่อง พร้อมทั้งรวบรวมผลการวิจัยและปรับแก้หลักสูตรก่อนนำไปใช้
                2. ระบบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วยการขออนุมัติหลักสูตรจากหน่วยงานหรือกระทรวงดำเนินการวางแผนการใช้หลักสูตร โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์หลักสูตร การเตรียมความพร้อมของบุคลากร จัดงบประมาณและวัสดุหลักสูตร บริหารสนับสนุนจัดเตรียมอาคารสถานที่ ระบบบริหารและจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และติดตามผลการใช้หลักสูตร หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบการบริหารหลักสูตร โดยการดำเนินการตามแผน กิจกรรมการเรียนการสอนแผนการสอน คู่มือการสอน คู่มือการเรียนเตรียมความพร้อมของผู้สอน ความพร้อมของผู้เรียนและการประเมินผลการเรียน
                3. ระบบการประเมินผล ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนการประเมินผลการใช้หลักสูตร ทั้งการประเมินย่อย การประเมินระบบหลักสูตร ระบบการบริหารและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน หลังจากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานข้อมูลตามลำดับ

มณฑิชา ชนะสิทธิ์ (2539:17) ได้กล่าวถึงกระบวนการหรือขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
                1.การสร้างหลักสูตร
                                1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
                                1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                                1.3 การกำหนดเนื้อหาสาระ
                                1.4 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
                                1.5 การกำหนดวิธีกาวัดผลและประเมินผล
                2.การนำหลักสูตรไปใช้
                3.การประเมินผลหลักสูตร
                4.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

เฉลา มิสดี (2540:17-19) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรที่มีการพัฒนาแตกต่างกันเนื่องมาจากจุดเน้นที่ต่างกัน ได้แก่
                1.การมุ้งเน้นการกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่การศึกษากระบวนการต่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานของการสร้างหลักสูตรและการพัฒนารูปแบบหลักสูตร
                2.การมุ่งเน้นกระบวนการสอน เป็นการแบ่งหลักสูตรออกมาเป็นการกำหนดการสอน แผนการสอน คู่มือครู แบบเรียน วัสดุ และสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆเป็นบทบาทนักพัฒนาหลักสูตรในระดับห้องเรียน
                3.การมุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่ต่อเนื่องกันไป เป็นภาพรวมของการพัฒนาหลักสูตรที่สามารถเรียงลำดับแนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรและการสอนได้เต็มรูปแบบ

ธำรง บัวศรี (2542:152) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
                ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
                ขั้นที่ 2 การกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
                ขั้นที่ 3 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของหลักสูตร
                ขั้นที่ 4 การกำหนดจุดประสงค์ของวิชา
                ขั้นที่ 5 การเลือกเนื้อหา
                ขั้นที่ 6 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
                ขั้นที่ 7 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
                ขั้นที่ 8 การกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอน
                ขั้นที่ 9 การประเมินผลการเรียนรู้
                ขั้นที่ 10 การจัดทำวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542 : 88) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้น คือ
                1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
                2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                3. การกำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
                4. การนำหลักสูตรไปใช้
                5. การประเมินหลักสูตร
                6. การปรับปรุง แก้ไข และเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
                7. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร

ทาบา (Taba. 1962 : 12) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้น คือ
                1.การวินิจฉัยความต้องการและความจำเป็นของสังคม
                2.การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                3.การเลือกเนื้อหาสาระ
                4.การจัดเนื้อหาสาระ
                5.การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
                6.การจัดประสบการณ์เรียนรู้
                7.การกำหนดวิธีการประเมินผล

เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander. 1974 : 27) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี้
                1. การศึกษาตัวแปรต่าง ๆ จากภายนอก
                2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์
                3. การออกแบบหลักสูตร
                4. การนำหลักสูตรไปใช้
                5. การประเมินผลหลักสูตร

เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Saylor Alexander and Lewis. 1981 : 30) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย
                1. การศึกษาตัวแปรต่าง ๆ จากภายนอก ได้แก่ ภูมิหลังของนักเรียน สังคม ธรรมชาติของการเรียนรู้ แผนการศึกษาแห่งชาติ ทรัพยากร และความสะดวกสบายในการพัฒนาหลักสูตรและคำแนะนำจากผู้ประกอบอาชีพ
                2. การกำหนดความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบหลักสูตร โดยนักวางแผนหลักสูตร และใช้ข้อมูลทางการเมืองและสังคมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ การออกแบบหลักสูตร
                3. การนำหลักสูตรไปใช้ โดยครูเป็นพิจารณาความเหมาะสมของการสอน การวางแผนหลักสูตร รวมถึงการแนะนำแหล่งของสื่อการเรียนรู้โดยให้มีความยืดหยุ่นและมีอิสระแก่ครูและนักเรียน
                4. การประเมินผลหลักสูตร ทำโดยครูเป็นผู้พิจารณาขั้นตอนประเมินผล เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน โดยวางแผนหลักสูตรร่วมกันพิจารณาขั้นตอน การประเมินผลหลักสูตรซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะใช้เป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจ เพื่อวางแผนในอนาคตต่อไป


จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรนั้นมีสิ่งที่ต้องปฏิบัติและพิจารณาที่สำคัญ คือ
                1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
                2.การร่างหลักสูตร
                                2.1การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                                2.2การกำหนดเนื้อหาสาระ
                                2.3การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
                                2.4การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล
                3.การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
                4.การทดลองใช้หลักสูตร
                5.การประเมินหลักสูตร
                6.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...