วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบการพัฒนาหลักสูตร


แนวข้อสอบ  พัฒนาหลักสูตร

1. ข้อใด คือคุณสมบัติที่สำคัญของหลักสูตร
ก. มีความเป็นพลวัตปรับเปลี่ยนทางสังคม
ข. มีความเป็นเอกภาพ มีความเหมาะสมทุกสถานการณ์
ค. เป็นข้อสรุปของนักวิชาการทุกสาขาแล้ว
ง. สังคมจะเปลี่ยนแปลง หลักสูตรสามารถคงอยู่ได้
ตอบข้อ ก. มีความเป็นพลวัตปรับเปลี่ยนทางสังคม

2. การพัฒนาหลักสูตร ต้องดำเนินการตามข้อใด
ก. กำหนดเป้าหมาย
ข. เลือกกิจกรรมและวัสดุประกอบการเรียนการสอน
ค. กำหนดระบบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบข้อ ง. ถูกทุกข้อ

3. ข้อใด ไม่ต้องคำนึงถึงในหลักการพัฒนาหลักสูตร
ก. ผู้เชี่ยวชาญมีความสามารถ
ข. ความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง
ค. สิ่งที่ผู้ดำเนินงานจะได้รับ
ง. ฝึกอบรมครูประจำการ
ตอบข้อ ค. สิ่งที่ผู้ดำเนินงานจะได้รับ

4. การจัดทำหลักสูตร ระดับประถมศึกษา ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นหน้าที่ของการพัฒนาหลักสูตรในข้อใด
ก. หลักสูตรระดับชาติ
ข. หลักสูตรระดับท้องถิ่น
ค. หลักสูตรระดับห้องเรียน
ง. หลักสูตรระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบข้อ ก. หลักสูตรระดับชาติ

5. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่รับชอบของ “ศูนย์หลักสูตร”
ก. จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร
ข. ปรับปรุงหลักสูตร
ค. ฝึกอบรมในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
ง. จัดทำคู่มือครู
ตอบข้อ ค. ฝึกอบรมในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

6. ข้อใดคือ ประโยชน์ ที่เกิดจากการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครูผู้สอน
ก. พัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องความเจริญของสังคมและของโลก
ข. สามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์
ค. ระบบการศึกษาก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ง. ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
ตอบข้อ ข. สามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์

7. องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร ไม่ควรคำนึงถึงข้อใด
กง ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
ข. ความต้องการของสังคม
ค. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ง. การบริหารจัดการของสถานศึกษา
ตอบข้อ ง. การบริหารจัดการของสถานศึกษา

8. การดำเงินงานในการพัฒนาหลักสูตร เริ่มต้นจากข้อใด
ก. การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา
ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย
ค. การนำเสนอสูตรไปใช้
ง. การประเมินผลหลักสูตร
ตอบข้อ ข. กำหนดจุดมุ่งหมาย

9. ข้อใด ไม่ใช่ รายละเอียดของหลักสูตร
ก. การบริหารหลักสูตร
ข. การจัดแผนการเรียนการสอน
ค. ศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน
ง. วิธีการสอนและคุณสมบัติผู้สอน
ตอบข้อ ค. ศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน

10. การพัฒนาหลักสูตร ให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ คือข้อใด
ก. ผู้สอนพัฒนาคุณวุฒิของตนให้ทัดเทียมที่อื่น
ข. ผู้เรียนและชุมชนสนใจแสวงหาสถานศึกษาที่ดี
ค. ผู้บริหารสนใจพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและวิชาชีพ
ง. การประชุมปรึกษาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตอบข้อ ง. การประชุมปรึกษาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

11. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ก. จุดมุ่งหมาย ข. จัดประสบการณ์
ค. คุณสมบัติครู ง. การประเมินครู
ตอบข้อ ค. คุณสมบัติครู

12. ข้อใด ไม่ใช่ แหล่งข้อมูลในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ก. สังคม ข. ผู้เรียน
ค. ผู้เชี่ยวชาญ ง. ครูผู้สอน
ตอบข้อ ง. ครูผู้สอน

13. เกณฑ์ในการพิจารณา เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ไทเลอร์ไม่ได้กำหนดไว้ คือ ข้อใด
ก. ครูพึงพอใจในการจัดประสบการณ์
ข. ผู้เรียนพึงพอใจในการจัดประสบการณ์
ค. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกและเรียนรู้
ง. ประสบการณ์ทุกด้านเน้น ตอบสนองจุดประสงค์
ตอบข้อ ก. ครูพึงพอใจในการจัดประสบการณ์

14. ข้อใด ไม่ใช่ ความสัมพันธ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบแนวตั้งและแนวนอนของไทเลอร์
ก. ความต่อเนื่อง ข. ประสบการณ์
ค. การจัดช่วงลำดับ ง. บูรณาการ
ตอบข้อ ข. ประสบการณ์

15. การวัดและวิเคราะห์สถานการณ์ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้นตรงกับข้อใด
ก. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ข. การเลือกกิจกรรม
ค. การจัดประสบการณ์
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ง. การประเมินผล

16. ข้อใด ไม่ใช่ เกณฑ์การพิจารณาเครื่องมือที่ใช้วัดผลหลักสูตร
ก. ความเป็นปรนัย ข. ความเป็นอัตนัย
ค. ความเชื่อมัน ง. ความเที่ยงตรง
ตอบข้อ ข. ความเป็นอัตนัย

17. ข้อใดคือ แนวความคิดของฮิลดา ทาบา ที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรต่างจาก ไทเลอร์
ก. การดำหนดจุดมุ่งหมาย
ข. การเลือกและจัดประสบการณ์
ค. ครูควรมีส่วนร่วม
ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ค. ครูควรมีส่วนร่วม

18. ผู้ที่ได้รับแนวคิดของไทเลอร์ และทาบา แล้วนำมาปรับขยายการพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน คือข้อใด
ก. เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ ข. ฟ็อกซ์
ค. กู๊ดแล็ด และ ริชเทอร์ ง. ริชเทอร์
ตอบข้อ ก. เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์

19. การที่สามารถบอกว่า หลักสูตรบรรลุตามเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ทราบได้จากข้อใด
ก. กำหนดขอบเจต ข. การออกแบบหลักสูตร
ค. การใช้หลักสูตร ง. การประเมินผล
ตอบข้อ ง. การประเมินผล

20. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อคำนึงถึงในการออกแบบหลักสูตร
ก. เลือกประสบการณ์ที่เหมาะสม
ข. การจัดเนื้อหาสาระ
ค. ความพร้อมของสถานศึกษา
ง. ความต้องการของผู้เรียนและสังคม
ตอบข้อ ค. ความพร้อมของสถานศึกษา

แนวข้อสอบ หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร (หลักสูตร 51)
1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีจุดมุ่งหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. เพื่อเน้นการปฏิบัติตามสภาพจริง
ข. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ค. เพื่อตัดสินผลการเรียน
ง. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และตัดสินผลการเรียน
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้ตัวชี้วัดใดเป็นเป้าหมาย
ก. ตัวชี้วัดชั้นปี
ข. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
ค. ตัวชี้วัดช่วงชั้นปี
ง. ตัวชี้วัดชั้นปีช่วงชั้น
3. ข้อใด ไม่ใช่ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
ก. ความสามารถในการสื่อสาร
ข. ความสามารถในการคิด
ค. ความสามารถในการใช้ชีวิต
ง. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ก. โครงสร้างเวลาเรียน
ข. คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ค. มาตรฐานการเรียนรู้
ง. เกณฑ์การจบหลักสูตร
5. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑
ก. รักชาติ ศาสนา กษัตริย์
ข. มุ่งมั่นในการเรียน
ค. มีวินัย
ง. รักความเป็นไทย
6. ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ก. หลักการของหลักสูตร
ข. สาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
ค. มาตรฐานการเรียนรู้
ง. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
7. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานคาดหวังสิ่งใดให้เกิดกับผู้เรียนมากที่สุด
ก. คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ข. การบูรณาการการเรียนรู้
ค. การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ง. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
8. การเรียนรู้แบบ BBL (Brain Based Learning) มีความหมาย ตรงกับข้อใด
ก. การเรียนรู้ที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง เพื่อกระตุ้นสมอง
ข. การเรียนรู้โดยใช้สมองซีกซ้าย เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสมอง
ค. การเรียนรู้โดยใช้สมองซีกขวา เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นสมอง
ง. การเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างและหน้าที่ของสมอง เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
9. สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย
ก. (K)ความรู้
ข. (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม
ค. (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ
ง. (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ , (N) ความรู้
10.สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฎิบัติได้ตรงกับข้อใด
ก. สาระการเรียนรู้
ข. มาตรฐานการเรียนรู้
ค. ตัวชี้วัด
ง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษา
11. มาตฐานการเรียนรู้ มีองค์ประกอบทั้งหมดกี่ส่วน
ก. มีองค์ประกอบทั้งหมด 1 ส่วน(K)ความรู้
ข. มีองค์ประกอบทั้งหมด 2 ส่วน (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม
ค. มีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ส่วน (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ
ง. มีองค์ประกอบทั้งหมด 4 ส่วน (K)สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ , (P) คุณธรรม จริยธรรม , (A) กระบวนการ , (N) ความรู้
12. ระดับการศึกษาภาคบังคับ ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้ตัวชี้วัดใดเป็นเป้าหมาย
ก. ตัวชี้วัดชั้นปี
ข. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
ค. ตัวชี้วัดช่วงชั้นปี
ง. ตัวชี้วัดชั้นปีช่วงชั้น
13. ข้อใดไม่ใช่ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลาง 51
ก. กิจกรรมแนะแนว
ข. กิจกรรมนักเรียน
ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ง. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
14. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับการจัดเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายปี
ข. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายภาค
ค. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายเทอม
ง. ระดับประถมศึกษาจัดเวลาเรียนเป็นรายเทอม ระดับมัธยมศึกษาจัดการเรียนเป็นรายภาค
15. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็นกี่ระดับ มีอะไรบ้าง
ก. แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ระดับชั้นเรียน , ระดับสถานศึกษา
ข. แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ระดับชั้นเรียน , ระดับสถานศึกษา , ระดับเขตพื้นที่การศึกษา , ระดับชาติ
ค. แบ่งออกเป็น 6 ระดับ ระดับชั้นเรียน , ระดับกลุ่มสาระ , ระดับสถานศึกษา , ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับชาติ , ระดับโลก
ง. แบ่งออกเป็น 8 ระดับ ระดับบุคคล , ระดับชั้นเรียน , ระดับกลุ่มสาระ , ระดับสถานศึกษา , ระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา , ระดับชาติ , ระดับโลก
16. ผู้เรียนอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่นำพาตนเองไปสู่เป้าหมาย เป็นการจัดการเรียนการสอนตรงกับข้อใด
ก. เป็นการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นที่ครูเป็นศูนย์กลาง
ข. เป็นการจัดการเรียนรู้ โดยมีโรงเรียนเป็นฐาน
ค. เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
ง. เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
17. ข้อใดไม่ใช่ การจัดระดับการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ระดับก่อนประถมศึกษา
ข. ระดับประถมศึกษา
ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
18. “ผู้สอนศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ พิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเลือกใช้สื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้” ข้อความข้างต้นนี้ตรงกับข้อใด
ก. กระบวนการออกแบบสื่อการเรียนรู้
ข. กระบวนการเรียนรู้
ค. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ง. การออกแบบการจัดการเรียนรู้
19. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่บนหลักการพื้นฐานใด
ก. ประเมินเพื่อประกอบพิจารณาความดีความชอบของครู
ข. ประเมินเพื่อการตัดเกรด
ค. ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และตัดสินผลการเรียน
ง. ประเมินเพื่อวางแผนทำวิจัยในชั้นเรียน
20. เครื่องมือสำคัญในข้อใด ที่ส่งเสริมสนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะตามมาตรฐานของหลักสูตร
ก. สื่อการเรียนรู้
ข. ผู้ปกครองและชุมชน
ค. การวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ
ง. เทคนิคและวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...