วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

กฎของหัวแม่มือ


กฎของหัวแม่มือ (Rule of Thump)
ตามประวัติที่สืบค้น คำๆ นี้แรกเริ่มมาจากช่างไม้ในอดีตที่วัดความยาววัสดุไม้เวลาทำตู้โต๊ะตั่งเตียง เป็นการวัดอย่างหยาบๆ เอาความยาวของนิ้วมือมาเป็นมาตรวัด เป็นการใช้ประสบการณ์ที่ฝึกฝนมา ไม่ได้มีทฤษฎีอะไรรองรับ
ต่อมาถูกนำไปใช้ในการตอบคำถามที่บางครั้งไม่รู้เหมือนกันว่าจะตอบอย่างไร ในบางครั้งบางเวลาถูกถามว่า ทำไมทำอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น หรือคิดอย่างนั้น เราก็ไม่รู้เหมือนกัน เพียงแต่คิดว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น ก็เลยตัดสินใจอย่างนั้นไป
กฎของหัวแม่มือ บางทีก็รวมๆ เรียกกฎแห่งนิ้วมือ คือนิ้วมือมันถูกเรียงเป็นลำดับจากนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย แล้วโดยทั่วไป นิ้วโป้งจะสั้น นิ้วชี้จะยาวขึ้น นิ้วกลางมักจะยาวที่สุด พอถึงนิ้วนางจะสั้นลง แล้วนิ้วสุดท้ายคือนิ้วก้อยก็จะสั้นที่สุดอีกด้านหนึ่ง
ถามว่ามันมีตรรกะอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า ก็ต้องตอบว่ามันไม่มีในทางวิทยาศาสตร์ แต่มันเหมือนกับว่า เมื่อเริ่มต้นที่หนึ่ง มันก็ควรตามด้วยสอง สาม สี่ ห้า ไปเรื่อยๆ
แม้ว่าในโลกแห่งความเป็นจริงมันอาจจะกระโดดจากหนึ่งเป็นอย่างอื่นก็ได้ อย่างที่มีหลายคนพูดว่า “The whole is not the sum of the parts” หรือ ผลลัพธ์ที่เป็นมากกว่าผลรวมซึ่งถูกอธิบายว่า 1+1 อาจเท่ากับ 1, 3 หรือ 4 หรือจำนวนอื่นก็ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องเท่ากับ 2 เสมอไป
คำที่มีความหมายเช่นนี้ในภาษาอังกฤษมีใช้กันเยอะมาก บ้านเราก็มีใช้บ้าง ที่ได้ยินบ่อยๆก็เช่นคำว่า สามัญสำนึก (common sense) ที่เขาพูดกัน (pattern language) หรือ องค์รวม (heuristic) เป็นต้น
Rule of Thump…a broadly accurate guide or principle, based on experience or practice rather than theory (a principle with broad application that is not intended to be strictly accurate or reliable for every situation. It is based on practical experience) (Right-hand rule, Oersted’s law, Rule of 72, Pattern language, Heuristic argument, Common sense, back-of-the-envelop calculation, Modulor, Satisficing)…Carpenter used thump as “inch”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...