วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

Mind หลักสูตรประสบการณ์




Mind หลักสูตรกว้าง




ตรวจสอบทบทวน (Self-Test) - กิจกรรม (Activity)


ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
Ø ในการจัดการศึกษาไทยควรนำหลักสูตรประเภทใดมาใช้ด้วยเหตุผลใดเป็นสำคัญ
ตอบ หลักสูตรบูรณาการ เพราะ เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาหลอมรวม ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป การผสมผสานเนื้อหาของวิชาต่างๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกันทำได้หลายวิธี   โดยธรรมชาติเด็กหรือผู้เรียนจะมีความสนใจ และมีความกระตือรือร้นในการที่จะแสวงหาความรู้และสร้างความเข้าใจในสิ่งต่างๆ อยู่เสมอสมองของเด็กจะไม่จำกัดอยู่กับ การเรียนรู้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นส่วนๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการแสวงหาความรู้ก็จะเรียนรู้หลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนี้หลักสูตรบูรณาการจึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมเพราะจะสามารถสนองความต้องการของเด็กหรือผู้เรียนได้
กิจกรรม (Activity)
Ø สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร  การออกแบบหลักสูตร
ตอบ  ประเภทของหลักสูตร  นักวิชาการของประเทศไทยและต่างประเทศได้ทำการสรุปประเภทของหลักสูตรที่สำคัญไว้ทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่
1. หลักสูตรเนื้อหาวิชา (Subject Matter Curriculum or Subject Centered Curriculum)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระสำคัญได้แก่ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เน้นที่เนื้อหาความรู้ไม่ได้เน้นที่ผู้เรียนผู้สร้างหลักสูตรจึงได้สร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความรู้และสาระสำคัญเป็นหลัก
2. หลักสูตรหมวดวิชา (Fusion or Fused Curriculum)
แยกออกเป็นรายวิชาย่อย ๆ เช่น วิชาภาษาไทยประกอบด้วยรายวิชาย่อย ๆ ได้แก่ คัดไทย เขียนไทย ย่อไทย  เรียงความ เขียนจดหมาย อ่านเอาเรื่อง ไวยากรณ์ สายวิชาอื่น ๆ ก็แยกออกเป็น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เลขคณิต เรขาคณิต ฯลฯ การประเมินผลของการศึกษาหรือการเรียนรู้ของนักเรียนคือ การวัดความสำเร็จด้วยคะแนนความจดจำของเนื้อหาในแต่ละวิชา
 
3. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชานำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน การจัดให้มีการสัมพันธ์ระหว่างวิชาในระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
4. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Fields Curriculum)
หลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา(ซึ่งมีหลักสูตรหมวดวิชาหลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์)หลักสูตรสหสัมพันธ์ยังคงใช้กันอยู่เพราะมีการผสมผสานของความรู้มากกว่านอกจากนี้แล้วการจัดหมวดวิชาเป็นสหสัมพันธ์หรือหมวดวิชาแบบกว้างนี้ก็มักจะทำกันในโรงเรียนระดับประถมและระดับมัธยมต้นมากกว่าระดับมัธยมปลาย
 
5. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)
มีลักษณะคล้ายกับ หลักสูตรหมวดวิชา  หลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเข้าอยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกันแต่เน้นวิธีการแก้ปัญหา 
6. หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum)
หลักสูตรประสบการณ์เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัดเพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลางแต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
7. หลักสูตรบูรณาการ (Integration or Integrated Curriculum)
หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชาแล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการ

บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต
การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
         การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน 
    ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ 
3.กิจกรรมการเรียนการสอน 
4.การประเมินผล                                    
 ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน 
     กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
           1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
          2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
          3. ความต่อเนื่อง  หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
           4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง   การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น
          5. การบูรณาการ    เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
         6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ


Power Point สรุปบทที่ 5












หลักสูตรสูญ


หลักสูตรสูญ
          เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก โดยไอส์เนอร์ เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน
 ประเด็นที่ควรพิจารณา
          ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2 ประเด็นคือ
          1.กระบวนการทางปัญญา ที่โรงเรียนเน้นและละเลย เป็นกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการรู้ โดยเริ่มจากการรับรูสิ่งต่างๆ ไปจนคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ
          2. เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร การนำความคิดของหลักสูตรสูญ  ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
          เมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใด  หรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตร  ก็จะต้องมีการกำหนดกรอบที่เป็นกลางๆเอาไว้อ้างอิง  ถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  หลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันที จากตัวอย่างการพิจารณา นำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้น ต้องถือว่าต้องถือว่าหลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษา จะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา


หลักสูตรเกลียวสว่าน


หลักสูตรเกลียวสว่าน
          เป็นการจัดเนื้อหา หรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน กล่าวคือ ในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยเพิ่มความยาก และความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
ที่มาของแนวความคิดเรื่องหลักสูตรเกลียวสว่าน
          บรูเนอร์ มีความเชื่อว่าในเนื้อหาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้าง และการจัดระบบที่แน่นอนจึงควรนำความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตรโดยการจัดลำดับเนื้อหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆอย่างมีระบบจากง่ายไปหายาก จากแนวความคิดนี้จึงมีการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะบันไดวนหรือเกลียวสว่าน คือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อยๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็ก
หลักสูตรเกลียวสว่านตามแนวคิดของดิวอี้
          ดิวอี้มีความเชื่อว่า การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอก และในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญาจากการแก้ปัญหาเหล่านี้ เขาจะได้ความคิดใหม่ๆจากการทำงาน


หลักสูตรสัมพันธ์วิชา


หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
          เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้ เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อหาที่ต้องการ
สำหรับวิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี ได้แก่
1.       สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2.       สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์ เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3.       สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองโปรแกรมในการเรียนมากขึ้น และกว้างขวางกว่าเดิม และเปิดทางให้สามารถขยายงานด้านตำราเรียนได้กว้างขวางขึ้น แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องที่แก้ไม่ได้ คือ รูปแบบของหลักสูตรยังคงเป็นหลักสูตรรายวิชาอยู่นั่นเอง


หลักสูตรแฝง


หลักสูตรแฝง
          เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
หลักสูตรแฝงกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
          โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้ายจิตพิสัย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่ และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
          หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด  และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้ ตามตัวหลักสูตรปกติมากจนเกินไป หรือเกินความจำเป็น แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น


หลักสูตรแกน


หลักสูตรแกน
          เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
พัฒนาการ/วิวัฒนาการของหลักสูตร  เริ่มจากการใช้วิชาเป็นแกนกลาง โดยเชื่อมเนื้อหาของวิชาที่สามารถนำมาสัมพันธ์กันได้ เข้าด้วยกัน แล้วกำหนดหัวข้อขึ้นให้มีลักษณะเหมือนเป็นวิชาใหม่เช่น นำเอาเนื้อหาของวิชาชีววิทยา สังคมศึกษา และสุขศึกษามาเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อ “สุขภาพละอนามัยของท้องถิ่น” โดยหลักสูตรแกนคือหลักสูตรที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน และเป็นหลักสูตรที่เน้นให้เรื่องปัญหาสังคมและค่านิยมของสังคม โดยมีกำหนดเค้าโครงของสิ่งที่จะสอนไว้อย่างชัดเจน
หลักสูตรแกนในเอเชีย
          ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ใช้หลักสูตรแกนอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายปะเทศ เช่นจีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพของหลักสูตรแกนของประเทศต่างๆในเอเชียชัดเจนยิ่งขึ้นขอนำเอาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องมาสรุปเปรียบเทียบให้เห็นดังต่อไปนี้
          - ระดับการผสมผสานวิชาในหลักสูตร ที่มีการผสมผสานกันอย่างมากมาย ได้แก่ หลักสูตรของประเทศศรีลงกา ไทย เวียดนาม และนิวซีแลนด์ ผสมผสานระดับปานกลาง ไดแก่ ของจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ส่วนหลักสูตรของเนปาลนั้นมีการผสมผสานกันน้อยมาก
ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรแกน
          หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตร จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก


หลักสูตรรายวิชา


หลักสูตรรายวิชา
          เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่ หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1.       จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2.       จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3.       จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ เป็นสำคัญ
4.       โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5.       5. กิจกรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6.       6. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา
ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ส่วนดี
-      จุดมุ่งหมายของหลักสูตรช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
-      เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบเป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
-      การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
-      การประเมินผลการเรียนทำได้ง่าย
ส่วนเสีย
-      หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
-      หลักสูตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลักเหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
-      หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามรถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้
การปรับปรุงหลักสูตร                                                                                                    
            1. จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องกัน คือจัดเนื้อหาที่อยู่ในชั้นเดียวกันหรือระหว่างชั้นให้ต่อเนื่องกัน โดยรักษาความเป็นวิชาของแต่ละวิชาไว้ การจัดมีอยู่ 2 แบบคือ
จัดให้ต่อเนื่องตามแนวนอน คือการจัดเนื้อหาของวิชาหนึ่งให้สัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับของอีกวิชาหนึ่งซึ่งอยู่ในชั้นเดียวกัน
จัดให้ต่อเนื่องในแนวตั้ง คือ การจัดเนื้อหาที่อยู่ต่างชั้นกัน
2. จัดโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน คือจัดเนื้อหาของแต่ละวิชาให้เชื่อมโยงกัน ในลักษณะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันทำได้ 2 ระดับ คือ
ระดับความคิด คือการพัฒนาความสามรถทางปัญญา อันได้แก่ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติและความพึงพอใจ
ระดับโครงสร้าง คือ การจัดให้เนื้อหาในแต่ละวิชาเอื้อประโยชน์แต่กันและกัน อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อวิชาอื่นๆด้วย


หลักสูตรประสบการณ์


หลักสูตรประสบการณ์
              หลักสูตรประสบการณ์ (The Experience Curriculum) เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร พื้นฐานความคิดของหลักสูตรนี้มีมาตั้งแต่สมัยรุซโซ (Rousseau) และเพลโต (Plato) แต่ได้นำมาปฏิบัติจริงเมื่อต้นศตวรรษที่20 นี้เองนับเป็นก้าวแรกที่ยึดเด็กหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
              แรกที่เดียวหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม (The Activity Curriculum) ที่เปลี่ยนชื่อไปก็เนื่องจากได้มีการแปลเจตนารมณ์ของหลักสูตรผิดไปจากเดิม กล่าวคือ มีบุคคลบางกลุ่มคิดว่าถ้าให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรผู้เรียนก็จะเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ เข้าทำนองว่าขอให้ทำกิจกรรมก็เป็นใช้ได้ (Activity for activity sake) ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดว่าควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ ประกอบกันในระยะนั้นทฤษฎีเปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรประสบการณ์ ต่อมาภายหลังเมื่อ วิลเลี่ยมคิลแพทริก (William Kilpatrick) นำเอาความคิดเรื่องการจัดประสบการณ์ในรูปการสอนแบบโครงการเข้ามาหลักสูตรนี้ก็ได้ชื่อเพิ่มขึ้นอีกชื่อหนึ่งว่า หลักสูตรโครงการ (The Project Curriculum) อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในที่นี้เราจะใช้ชื่อหลักสูตรประสบการณ์เพียงชื่อเดียว
1. วิวัฒนาการของหลักสูตร
              หลักสูตรประสบการณ์ถูกนำมาใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนทดลอง (Laboratory School) ของมหาวิทยาลัยซิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยจอห์นและแมรีดิวอี้ พื้นฐานของหลักสูตรตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่า ถ้าจะให้ผู้เรียนสนใจและเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน จะต้องอาศัยแรงกระตุ้น 4 อย่างคือ
                   1. แรงกระตุ้นทางสังคม (Social Impulse) ซึ่งเห็นได้จากการที่ผู้เรียนมีความปรารถนาที่จะคบหาสมาคมกับเพื่อน
                   2. แรงกระตุ้นทางสร้างสรรค์ (Constructive Impulse) ซึ่งสังเกตได้จากการที่ผู้เรียนไม่อยู่นิ่งชอบเล่น ชอบทำกิจกรรม ชอบเล่นสมมุติ ชอบประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ฯลฯ
                   3. แรงกระตุ้นทางการค้นคว้าทดลอง (Impulse to Investigate and Experiment) หมายถึง ความอยากรู้อยากเห็น รวมทั้งอยากทดลองทำสิ่งที่ตนสงสัย จะเห็นได้จากการที่ผู้เรียนชอบรื้อค้นสิ่งต่างๆ และเล่นกับสิ่งที่อาจจะเป็นอันตราย เช่น เอามือไปแหย่ไฟด้วยความอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เป็นต้น
                   4. แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคำพูด การกระทำ และทางศิลปะ (Expressive or Artistic Impulse) ได้แก่ การแสดงออกในด้านการขีดเขียน การพูด การวาดภาพ การเล่นดนตรี ฯลฯ
              จอห์น ดิวอิ ถือว่าแรงกระตุ้นทั้ง 4 อย่างนี้ ผู้เรียนมีอยู่พร้อม และจะนำออกมาใช้ตามขั้นของพัฒนาการของตน ดั้งนั้นถ้าจะให้ผู้เรียนรู้และมีทักษะในด้านหนึ่งด้านใด ก็ควรเริ่มต้นจากกิจกรรมที่เป็นแรงกระตุ้นอยู่แล้ว และถ้าจะให้เกิดผลดียิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นควรมีประโยชน์แก่ผู้เรียนด้วย โดยเฉพาะควรเป็นกิจกรรมประเภทการงานที่มีประโยชน์ต่อชีวิติประจำวัน เช่น งานประกอบอาหาร งานเย็บปักถักร้อย และงานช่าง เป็นต้น สำหรับทักษะต่างๆ เช่น การอ่าน การเขียนและการคิดเลข ควรเป็นผลที่เกิดจากการกระทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยที่เด็กหรือผู้เรียนมองเห็นด้วยตนเองว่า ถ้าจะทำกิจกรรมให้เกิดผลดีก็จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะต่างๆ ควบคู่ไปด้วย
              ในปี ค.ศ. 1904 นักการศึกษาอีกท่านหนึ่งชื่อ มิเรียม (J.L Meriam) ได้ทดลองนำหลักสูตรประสบการณ์ไปใช้ในโรงเรียนประถมของมหาวิทยาลัยมิสซูรี (University of Missouri) โดยกำหนดขอบเขตของหลักสูตรให้คลอบคลุมกิจกรรม 4อย่างคือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการสังเกตพิจารณา กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเล่น กิจกรรมที่เกี่ยวกับนิยายและเรื่องราวต่างๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การทำงานด้วยมือ หลักการของหลักสูตรก็เหมือนกันกับของจอห์น ดิวอี้ คือใช้ทักษะในการอ่าน เขียน คิดเลข เป็นเครื่องส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำกิจกรรม
              ในปี ค.ศ. 1918 นักการศึกษาอเมริกันที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งคือ วิลเลียมคิลแพทริก (W.H. Kilpatrick) ได้เขียนบทความชื่อ วิธีสอนแบบโครงการ (The Project Method) เป็นผลให้หลักสูตรประสบการณ์ในรูปแบบของโครงการถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในชั้นประถมศึกษาแต่ในชั้นมัธยมศึกษาหลักสูตรนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูและผู้บริหารยังคงถูกอิทธิพลของหลักสูตรรายวิชาครอบงำอยู่
              อย่างไรก็ตาม หลักสูตรประสบการณ์ได้รับความนิยมอยู่ไม่นานก็ซบเซาไป ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาของหลักสูตรนี้มีมาก และปัญหาบางอย่างก็ยังแก้กันไม่ตก ดังจะได้กล่าวต่อไป
              สำหรับประเทศไทยได้มีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีสอนแบบโครงการในสถานศึกษาฝึกหัดครูก่อน พ.ศ. 2500 เสียอีก แต่ไม่ได้มีการจัดทำหลักสูตรโครงการขึ้นใช้ ได้มีการนำเอาวิธีสอนแบบโครงการมาทดลองใช้บ้างในบางที่บางแห่ง แต่ก็เป็นเพียงการทดลองเท่านั้น
2. ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
                   1. ความสนใจของผู้เรียน เป็นตัวกำหนดเนื้อหา และเค้าโครงหลักสูตร ลักษณะข้อนี้หมายความว่า จะสอนอะไร เมื่อใด และจะเรียงลำดับการสอนก่อนหลังอย่างไรขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กิจกรรมที่ผู้เรียนกระทำเป็นกิจกรรมที่เขามองเห็นความจำเป็นและประโยชน์อย่างแท้จริงไม่ใช่สนใจเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องสนุกสนานและไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่ผู้ใหญ่คิดเอาเองว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ
              แนวความคิดของหลักสูตรนี้มีว่า เวลาที่ผู้เรียนทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ผู้เรียนย่อมหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ทำขึ้นลอยๆ โดยปราศจากความมุ่งหมาย ความสนใจของผู้เรียนย่อมมีอยู่และเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องค้นหาให้พบ แล้วใช้เป็นบันไดในการสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาแก่ผู้เรียน แนวความคิดนี้ชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรประสบการณ์ประกอบด้วยกิจกรรมอันจะนำไปสู่ความสนใจใหม่และกิจกรรมใหม่ต่อเนื่องกันไป อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญที่ควรเอาใจใส่ก็คือความสนใจของผู้เรียน ในเรื่องนี้เราจะต้องระวังอย่าเอาไปปะปนกับสิ่งที่เขาเห่อหรือนิยมชมชอบเพียงชั่วครั้งชั่วคราว พึงเข้าใจว่าความสนใจที่แท้จริงนั้นจะต้องประกอบด้วยจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและเมื่อได้ทราบความสนใจที่แท้จริงแล้ว จึงใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนการสอนต่อไป
              หลักที่ว่าแผนการสอนขึ้นอยู่กับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน ชี้ให้เห็นว่าเนื้อหาวิชาเปรียบเสมือนเครื่องมือที่จะสนองความมุ่งหมายหรือความใฝ่ฝันของแต่ละบุคคลและของหมู่คณะ เป็นการตรงกันข้ามกับทัศนะดั้งเดิมที่ว่า ความมุ่งหมายและความสนใจของผู้เรียนเปรียบเสมือนเครื่องช่วยให้ผู้เรียนสามารถเป็นวิชาที่ผู้ใหญ่กำหนดให้เรียนได้ดีขึ้น ในที่นี้เนื้อวิชามีประโยชน์ในการกำหนดลักษณะของกิจกรรมที่จะตอบสนองต่อความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งหมายความว่าความรู้เกิดขึ้นจากผลของการกระทำของผู้เรียน เป็นการกระทำเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายของตนกล่าวคือ ในระหว่างที่ทำกิจกรรมนั้นผู้เรียนจะเกิดความต้องการความรู้ และเมื่อได้ศึกษาเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้อง ก็ทำให้เรียนสิ่งที่ต้องการ
              อย่างไรก็ตามปัญหาที่ผู้สอนยังต้องเผชิญอยู่ก็คือ จะทำอย่างไรกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและทั้งหมดในชั้น เป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องค้นหาความสนใจทั้งสองประเภทนี้เสียก่อนแล้วช่วยให้ผู้เรียนเลือกว่าอะไรคือความสนใจที่แท้จริง อะไรที่มีคุณค่าสำหรับส่วนรวมและแต่ละคนทั้งนี้เพื่อจะได้สามารถสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจรวมกัน ความสนใจรวมกันจะต้องอาศัยความรู้เรื่องพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งพื้นฐานครอบครัว ซึ่งจะชี้ถึงค่านิยมละความสนใจของผู้เรียนด้วย เมื่อทราบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่สนใจอะไรก็นำเอามาจัดเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนขึ้น การที่ต้องอาศัยความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก  ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างหลักสูตรประสบการณ์กับหลักสูตรรายวิชา และหลักสูตรแกน โดยที่เนื้อของหลักสูตรแบบหลังทั้งสองแบบจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่หลักสูตรประสบการณ์กำหนดเนื้อหาจากความสนใจของผู้เรียนเป็นคราวๆ ไป นอกจากนี้หลักสูตรรายวิชายังอาศัยความรู้เป็นกรอบ และหลักสูตรแกนก็อาศัยปัญหาสังคมเป็นกรอบซึ่งต่างกับหลักสูตรประสบการณ์โดยสิ้นเชิง
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ที่กล่าวเช่นนี้หมายความว่า ในหลักสูตรแบบนี้ผู้สอนไม่สามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนไว้ล่วงหน้า แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้สอนไม่เตรียมตัวการสอนเลย อย่างน้อยที่สุดสิ่งที่ผู้เรียนต้องกระทำก่อนการสอนก็คือ การสำรวจความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนและทั้งชั้น และช่วยผู้เรียนในการตัดสินใจว่าความสนใจเรื่องใดมีคุณค่าควรแก่การศึกษา อนึ่ง เมื่อลงมือสอนหน้าที่ของผู้สอนก็คือ การช่วยผู้เรียนว่างแผนกิจกรรมต่างๆ และช่วยในการประเมินผลกิจกรรมที่ทำไปแล้ว
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน ดังได้กล่าวแล้วว่าในหลักสูตรประสบการณ์ผู้สอนและผู้เรียนรวมกันพิจารณาตัดสินว่าควรจะทำกิจกรรมอะไร จึงเห็นได้ว่านับตั้งแต่เริ่มแรกก็มีปัญหาต้องขบคิดกันแล้ว คือปัญหาที่ว่าจะทำอะไร อย่างไร และเมื่อใด จะต้องอาศัยอะไรเป็นเครื่องช่วยเพื่อให้การกระทำสำเร็จผล ปัญหาและอุปสรรคที่จำเป็นต้องแก้ไขเป็นการล่วงหน้ามีอะไรบ้าง ฯลฯ สิ่งดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าการสอนตามหลักสูตรประสบการณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่เป็นการบอกวิชาแก่ผู้เรียนโดยตรง จริงอยู่การบอกวิชาอาจมีบ้างเป็นครั้งคราวแต่ไม่ใช่เป็นหัวใจของการเรียนการสอน ถ้าผู้เรียนจะได้รับความรู้อะไรจากการบอกเล่าก็ควรเป็นในแง่ที่ความรู้นั้นจะช่วยกระตุ้นหรือส่งเสริมการแก้ปัญหาที่กำลังทำอยู่ คุณค่าของหลักสูตรไม่ได้อยู่ที่คำตอบที่ได้จากการแก้ปัญหา แต่อยู่ที่ผลซึ่งผู้เรียนได้รับจากการที่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหานั้น โดยในดังกล่าววิชาจึงเป็นเครื่องมือสำหรับใช้แก้ปัญหา และด้วยเหตุผลนี้หลักสูตรประสบการณ์จึงใช้วิชาเกือบทุกวิชาเข้าช่วย สุดแท้แต่ว่าปัญหาจะพาดพิงถึงหรือต้องอาศัยวิชาใด ขณะเดียวกันผู้เรียนก็จะได้เรียนรู้วิชาต่างๆ และฝึกทักษะไปด้วยในระหว่างที่ทำการแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้และฝึกทักษะในเมื่อความสนใจได้เกิดขึ้นแล้ว

3. ปัญหาของหลักสูตรประสบการณ์
ดังได้กล่าวแล้วว่าหลักสูตรประสบการณ์อาศัยความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก ในการจัดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้นจึงสร้างปัญหาแก่ผู้ใช้หลักสูตรอย่างมาก ที่สำคัญคือ
1. ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร หลักสูตรประสบการณ์นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้  คือแทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา กลับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลัก เมื่อเป็นดังนี้จึงเกิดปัญหาว่าผู้เรียนจะได้เรียนอะไร การกำหนดเนื้อหาย่อมทำได้ยาก  ประสบการณ์ที่จัดให้ตามความสนใจอาจไม่ใช่ประสบการณ์ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นก็ได้นอกจากนี้การที่ยึดความสนใจเป็นหลักอาจเกิดปัญหาเรื่องความต่อเนื่องของประสบการณ์รวมทั้งความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาที่เรียนด้วย ปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งก็คือ ครูหรือผู้สอนอาจเผลอนำเอาความสนใจของตนมาสรุปว่า เป็นความสนใจของผู้เรียน ถ้าหากเป็นดังว่าก็เท่ากับได้ทำลายหลักการของหลักสูตรนี้โดยสิ้นเชิง
2. ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ ในการจัดแบ่งเนื้อหาในชั้นต่างๆ หลักสูตรประสบการณ์ใช้หลักเดียวกันกับหลักสูตรรายวิชา คือพิจารณาจากวุฒิภาวะ ประสบการณ์เดิม เนื้อหาวิชาที่เรียนมาแล้ว ความสมใจประโยชน์และความยากง่ายของเนื้อหา ข้อแตกต่างมีว่าหลักสูตรประสบการณ์ไม่ได้คิดเพียงการนำเอาเนื้อหาวิชามาเรียนลำดับกันเท่านั้น แต่จะพิจารณาด้วยว่าเนื้อหาอะไรที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด ปัญหานี้ยังหาคำตอบที่พอใจไม่ได้
แรกทีเดียวก็เข้าใจกันว่า การจัดแบ่งวิชาในชั้นต่างๆ ตามแนวคิดของคิดของหลักสูตรประสบการณ์ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะตราบใดที่ผู้สอนและผู้เรียนมีอิสรเสรีในการเลือกกิจกรรมด้วยตัวเองแล้วปัญหาก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น ครั้นเมื่อลงมือปฏิบัติจริงกลับปรากฏว่ามีปัญหามาก เป็นต้นว่า ไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาระหว่างชั้นเรียนได้และบางทีก็มีการจัดกิจกรรมซ้ำๆ กันทุกปี ได้มีการแก้ไขโดยการจัดทำตารางสอนของแต่ละปีขึ้นแต่ก็ไม่ได้ผล  เพราะตารางสอนเหล่านั้นเป็นเรื่องของเก่าไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าในปีใหม่ควรทำอะไรกัน


ประเภทของหลักสูตร


ประเภทของหลักสูตร
นักวิชาการของประเทศไทยและต่างประเทศได้ทำการสรุปประเภทของหลักสูตรที่สำคัญไว้ทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่
1. หลักสูตรเนื้อหาวิชา (Subject Matter Curriculum or Subject Centered Curriculum)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระสำคัญได้แก่ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เน้นที่เนื้อหาความรู้ไม่ได้เน้นที่ผู้เรียนผู้สร้างหลักสูตรจึงได้สร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความรู้และสาระสำคัญเป็นหลัก
2. หลักสูตรหมวดวิชา (Fusion or Fused Curriculum)
แยกออกเป็นรายวิชาย่อย ๆ เช่น วิชาภาษาไทยประกอบด้วยรายวิชาย่อย ๆ ได้แก่ คัดไทย เขียนไทย ย่อไทย  เรียงความ เขียนจดหมาย อ่านเอาเรื่อง ไวยากรณ์ สายวิชาอื่น ๆ ก็แยกออกเป็น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เลขคณิต เรขาคณิต ฯลฯ การประเมินผลของการศึกษาหรือการเรียนรู้ของนักเรียนคือ การวัดความสำเร็จด้วยคะแนนความจดจำของเนื้อหาในแต่ละวิชา
 
3. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชานำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน การจัดให้มีการสัมพันธ์ระหว่างวิชาในระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
4. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Fields Curriculum)
หลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา(ซึ่งมีหลักสูตรหมวดวิชาหลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์)หลักสูตรสหสัมพันธ์ยังคงใช้กันอยู่เพราะมีการผสมผสานของความรู้มากกว่านอกจากนี้แล้วการจัดหมวดวิชาเป็นสหสัมพันธ์หรือหมวดวิชาแบบกว้างนี้ก็มักจะทำกันในโรงเรียนระดับประถมและระดับมัธยมต้นมากกว่าระดับมัธยมปลาย
 
5. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)
มีลักษณะคล้ายกับ หลักสูตรหมวดวิชา  หลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเข้าอยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกันแต่เน้นวิธีการแก้ปัญหา

6. หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum)
หลักสูตรประสบการณ์เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัดเพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลางแต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
7. หลักสูตรบูรณาการ (Integration or Integrated Curriculum)
หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชาแล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการ

บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต


หลักสูตรกว้าง


หลักสูตรกว้าง
หลักสูตรกว้าง (The  Broad-Field  Curriculum) เป็นหลักสูตรอีกแบบหนึ่งที่พยายามแก้ไขจุดอ่อนของหลักสูตรรายวิชา  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ  ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ  ทุกด้าน  กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพยายามจะหนีจากหลักสูตรที่ยึดวิชาเป็นพื้นฐาน  มีครูหรือผู้สอนเป็นผู้สั่งการแต่เพียงผู้เดียว  วิชาต่างๆ ที่แยกจากกันเป็นเอกเทศ     จนทำให้ผู้เรียนมองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเหล่านั้น  ผลก็คือนักเรียนไม่สามารถนำเอาความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
              1. วิวัฒนาการของหลักสูตร
              หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ  จากวิชาที่โทมัส  ฮุกซเลย์  (Thomas Huxicy) สอนเด็กที่เรียนอยู่ในโรงเรียนในราชสำนัก (The Royal Insutunon) ที่นครลอนดอน วิชาที่สอนนี้กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้ำเทมส์และกิจกรรมต่างๆ ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้น เป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ หลายวิชามาศึกษาในเวลาเดียวกัน
              สหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1914  โดยวิทยาลัยแอมเฮิรส (Amherst Collge)  จัดทำเป็นวิชากว้างๆ เรียกว่า สถาบันสังคมและเศรษฐกิจ (Social and Economic Institions) ต่อมาในปี ค.ศ. 1923  มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ก็ได้จัดหลักสูตรกว้าง มีการสอนวิชาที่รวมวิชาหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน  ได้แก่  วิชาการคิดแบบแก้ปัญหาขั้นนำ (Introduction to Reflective  Thinking) ธรรมชาติของโลกและมนุษย์ (The Nature of the World  and  of  Man) มนุษย์ในสังคม (Man in Society) และความหมายและค่านิยมของศิลปะ (The Meaning and Value of the Arts) ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นโรงเรียนมัธยมของสหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรแบบกว้างมาใช้  ทำให้เกิดหมวดวิชาต่างๆ ขึ้น เช่น  สังคมศึกษา  วิทยาศาสตร์ทั่วไป พลศึกษา  ศิลปะ  คณิตศาสตร์ทั่วไปและภาษาในตอนแรกๆ  การจัดเนื้อหาใช้วิธีจัดเรียงกันเฉยๆ  ไม่มีการผสมผสานกันแต่อย่างใด ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์  เพราะแต่ละเนื้อหาวิชาต่างก็มีจุดประสงค์ของตน  ต่อมาภายหลังจึงได้มีการแก้ไขโดยกำหนดหัวข้อขึ้นก่อน  แล้วจึงคัดเลือกเนื้อหาที่สามารถสนองจุดประสงค์จากวิชาต่างๆ นำมาเรียงกันอีกต่อหนึ่ง  วิธีนี้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ได้  ขณะเดียวกันก็มีผลพวงตามมา  คือ  เอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไปเนื้อหาวิชาผสมผสานกันมากขึ้น  ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่หลักสูตรใหม่ที่เราเรียกกันว่า หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Cumculum)
              ประเทศไทยได้นำหลักสูตรมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2503 โดยเรียงลำดับเนื้อหาต่างๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันเข้าไว้ในหลักสูตร และให้ชื่อวิชาเสียใหม่ให้มีความหมายกว้างครอบคลุมวิชาที่นำมาเรียงลำดับไว้ ตัวอย่างเช่นในหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2503 ได้มีการนำเอาเนื้อหาบางส่วนของวิชาศีลธรรม หน้าที่พลเมือง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ มาเรียงลำดับเข้าเป็นหมวดวิชา เรียกว่า สังคมศึกษา เป็นต้น
              2. ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
       1. จุดหมายของหลักสูตรมีขอบข่ายกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา ขอบข่ายอาจครอบคลุมไปถึงสังคมด้วย จะเห็นได้จากการที่จุดหมายของหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2503 ครอบคลุมการฝึกอบรมเพื่อนำไปสู่คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการตระหนักในตน มนุษย์สัมพันธ์ความสามารถในการครองชีพ และความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
       2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ ที่นำมารวมกันไว้ ตัวอย่าง เช่น ในหมวดของสังคมศึกษาของประถมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2503 ซึ่งประกอบด้วยวิชาศีลธรรม หน้าที่พลเมือง ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ได้กำหนดจุดประสงค์ของหมวดวิชาครอบคลุมวิชาทั้งสี่นี้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขอนำเอาจุดประสงค์ทั้งหมด (ซึ่งในหลักสูตรเรียกว่าความมุ่งหมาย) มาเสนอไว้ในที่นี้ด้วย (กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2503 หน้าที่ 1)
                        1. ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคม
                        2. ให้เด็กมีความรู้และความรู้สึกซาบซึ้งในความเป็นมาในการเมืองของสังคม และทางวัฒนธรรม ซึ่งแต่ละชาติได้สร้างสมกันมาตามประวัติศาสตร์
                        3. ให้เด็กยอมรับคุณค่าในทางศีลธรรมและวัฒนธรรม และยินดีปฏิบัติตามด้วยความจริงใจ
                        4. ให้เด็กมีความเข้าใจว่า สมาชิกของสังคมย่อมมีหน้าที่อำนวยประโยชน์ให้แก่สังคมตามวิถีทางของเขา สอนให้เด็กได้รู้จักเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น โดยไม่คำนึงถึง  เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางสังคมของบุคคลนั้น
                        5. ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับระบอบการปกครองในปัจจุบัน
                        6. ให้เด็กรู้จักสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบซึ่งพลเมือง แต่ละคนพึงมีต่อสังคมประชาธิปไตย โดยเฉพาะในเรื่องความมั่นคง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศชาติ
                        7. ให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับการผลิต  การบริโภค และการสงวนทรัพยากรของสังคม
                        8. ให้เด็กรู้จักเหตุผล รู้จักประเมินผล ยอมรับหลักการและกระบวนการที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา
                   3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า โดยไม่มีการผสมผสานกันแต่อย่างใด หรือถ้ามีก็น้อยมาก อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้เมื่อได้รับการดัดแปลงให้เป็นหลักสูตรบูรณาการ วิชาต่างๆ จะผสมผสานกันกันจนหมดความเป็นเอกลักษณ์
                   ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
                   ก.ส่วนดี
                        1. เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีความสัมพันธ์กันดีขึ้น
                        2. ในการสอนทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดวามเข้าใจ และมีทัศนะคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
                        3. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
                   ข.ส่วนเสีย
                        1. หลักสูตรนี้ถึงแม้ว่าพยายามจะให้เอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เนื้อหาของวิชาต่างๆ เหล่านั้นผสมผสานกันจนเป็นเนื้อเดียว ดังนั้นในการผู้สอนจึงมีแนวโน้มที่จะรักษาเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาไว้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาขาดหายไป
                        2. ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เข้าทำนองรู้รอบมากกว่ารู้สึก
                        3. เนื่องจากหลักสูตรครอบคลุมวิชาต่างๆ หลายวิชา ผู้สอนจึงอาจสอนไม่ดีเพราะขาดความรู้บางวิชา นอกจากนี้ในการเตรียมการเรียนการสอนจะต้องใช้เวลามาก เพราะเท่ากับต้องเตรียมสอนหลายวิชา แทนที่จะสอนวิชาเดียวอย่างที่สอนหลักสูตรรายวิชา
                        4. การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน


ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...