กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
การแสวงหารูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะ รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรนั้นเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมาใช้จะต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม
สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกรบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
การแสวงหารูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรนั้น เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมาใช้จะต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม
สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกรบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
1. จัดวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตร
2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
3. การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
4. การกำหนดมาตรการวัดและประเมินผล
5. การนำหลักสูตรไปใช้
6. การประเมินผลการใช้หลักสูตร
7. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2533 : 19) ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจรไว้ 3 ระบบโดยเริ่มต้นจากระบบการร่างหลักสูตร ระบบการนำหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตรซึ่งแต่ละระบบมีรายละเอียดและขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ระบบการร่างหลักสูตร ประกอบด้วย การกำหนดหลักสูตร โดยดูดความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองหลังจากนั้นกำหนดรูปแบบหลักสูตร ได้แก่ การกำหนดหลักการ โครงร้าง องค์ประกอบหลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์การเรียนและการประเมินผลกหลังจากนั้นดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ หรือการสัมมนาและมีการทดลองนำร่อง พร้อมทั้งรวบรวมผลการวิจัยและปรับแก้หลักสูตรก่อนนำไปใช้
2. ระบบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วยการขออนุมัติหลักสูตรจากหน่วยงานหรือกระทรวงดำเนินการวางแผนการใช้หลักสูตร โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์หลักสูตร การเตรียมความพร้อมของบุคลากร จัดงบประมาณและวัสดุหลักสูตร บริหารสนับสนุนจัดเตรียมอาคารสถานที่ ระบบบริหารและจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และติดตามผลการใช้หลักสูตร หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบการบริหารหลักสูตร โดยการดำเนินการตามแผน กิจกรรมการเรียนการสอนแผนการสอน คู่มือการสอน คู่มือการเรียนเตรียมความพร้อมของผู้สอน ความพร้อมของผู้เรียนและการประเมินผลการเรียน
3. ระบบการประเมินผล ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนการประเมินผลการใช้หลักสูตร ทั้งการประเมินย่อย การประเมินระบบหลักสูตร ระบบการบริหารและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน หลังจากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานข้อมูลตามลำดับ
มณฑิชา ชนะสิทธิ์ (2539:17) ได้กล่าวถึงกระบวนการหรือขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
1.การสร้างหลักสูตร
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
1.3 การกำหนดเนื้อหาสาระ
1.4 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
1.5 การกำหนดวิธีกาวัดผลและประเมินผล
2.การนำหลักสูตรไปใช้
3.การประเมินผลหลักสูตร
4.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
เฉลา มิสดี (2540:17-19) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรที่มีการพัฒนาแตกต่างกันเนื่องมาจากจุดเน้นที่ต่างกัน ได้แก่
1.การมุ้งเน้นการกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่การศึกษากระบวนการต่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานของการสร้างหลักสูตรและการพัฒนารูปแบบหลักสูตร
2.การมุ่งเน้นกระบวนการสอน เป็นการแบ่งหลักสูตรออกมาเป็นการกำหนดการสอน แผนการสอน คู่มือครู แบบเรียน วัสดุ และสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆเป็นบทบาทนักพัฒนาหลักสูตรในระดับห้องเรียน
3.การมุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่ต่อเนื่องกันไป เป็นภาพรวมของการพัฒนาหลักสูตรที่สามารถเรียงลำดับแนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรและการสอนได้เต็มรูปแบบ
ธำรง บัวศรี (2542:152) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นที่ 2 การกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
ขั้นที่ 3 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของหลักสูตร
ขั้นที่ 4 การกำหนดจุดประสงค์ของวิชา
ขั้นที่ 5 การเลือกเนื้อหา
ขั้นที่ 6 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่ 7 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่ 8 การกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอน
ขั้นที่ 9 การประเมินผลการเรียนรู้
ขั้นที่ 10 การจัดทำวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน
วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542 : 88) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้น คือ
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. การกำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
4. การนำหลักสูตรไปใช้
5. การประเมินหลักสูตร
6. การปรับปรุง แก้ไข และเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ทาบา (Taba. 1962 : 12) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้น คือ
1.การวินิจฉัยความต้องการและความจำเป็นของสังคม
2.การกำหนดจุดมุ่งหมาย
3.การเลือกเนื้อหาสาระ
4.การจัดเนื้อหาสาระ
5.การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
6.การจัดประสบการณ์เรียนรู้
7.การกำหนดวิธีการประเมินผล
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander. 1974 : 27) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี้
1. การศึกษาตัวแปรต่าง ๆ จากภายนอก
2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์
3. การออกแบบหลักสูตร
4. การนำหลักสูตรไปใช้
5. การประเมินผลหลักสูตร
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Saylor Alexander and Lewis. 1981 : 30) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย
1. การศึกษาตัวแปรต่าง ๆ จากภายนอก ได้แก่ ภูมิหลังของนักเรียน สังคม ธรรมชาติของการเรียนรู้ แผนการศึกษาแห่งชาติ ทรัพยากร และความสะดวกสบายในการพัฒนาหลักสูตรและคำแนะนำจากผู้ประกอบอาชีพ
2. การกำหนดความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบหลักสูตร โดยนักวางแผนหลักสูตร และใช้ข้อมูลทางการเมืองและสังคมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ การออกแบบหลักสูตร
3. การนำหลักสูตรไปใช้ โดยครูเป็นพิจารณาความเหมาะสมของการสอน การวางแผนหลักสูตร รวมถึงการแนะนำแหล่งของสื่อการเรียนรู้โดยให้มีความยืดหยุ่นและมีอิสระแก่ครูและนักเรียน
4. การประเมินผลหลักสูตร ทำโดยครูเป็นผู้พิจารณาขั้นตอนประเมินผล เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน โดยวางแผนหลักสูตรร่วมกันพิจารณาขั้นตอน การประเมินผลหลักสูตรซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะใช้เป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจ เพื่อวางแผนในอนาคตต่อไป
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรนั้นมีสิ่งที่ต้องปฏิบัติและพิจารณาที่สำคัญ คือ
1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
2.การร่างหลักสูตร
2.1การกำหนดจุดมุ่งหมาย
2.2การกำหนดเนื้อหาสาระ
2.3การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
2.4การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล
3.การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
4.การทดลองใช้หลักสูตร
5.การประเมินหลักสูตร
6.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น