วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test) - กิจกรรม (Activity)


ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
Ø ในการจัดการศึกษาไทยควรนำหลักสูตรประเภทใดมาใช้ด้วยเหตุผลใดเป็นสำคัญ
ตอบ หลักสูตรบูรณาการ เพราะ เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาหลอมรวม ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป การผสมผสานเนื้อหาของวิชาต่างๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกันทำได้หลายวิธี   โดยธรรมชาติเด็กหรือผู้เรียนจะมีความสนใจ และมีความกระตือรือร้นในการที่จะแสวงหาความรู้และสร้างความเข้าใจในสิ่งต่างๆ อยู่เสมอสมองของเด็กจะไม่จำกัดอยู่กับ การเรียนรู้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นส่วนๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการแสวงหาความรู้ก็จะเรียนรู้หลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนี้หลักสูตรบูรณาการจึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมเพราะจะสามารถสนองความต้องการของเด็กหรือผู้เรียนได้
กิจกรรม (Activity)
Ø สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร  การออกแบบหลักสูตร
ตอบ  ประเภทของหลักสูตร  นักวิชาการของประเทศไทยและต่างประเทศได้ทำการสรุปประเภทของหลักสูตรที่สำคัญไว้ทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่
1. หลักสูตรเนื้อหาวิชา (Subject Matter Curriculum or Subject Centered Curriculum)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระสำคัญได้แก่ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เน้นที่เนื้อหาความรู้ไม่ได้เน้นที่ผู้เรียนผู้สร้างหลักสูตรจึงได้สร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความรู้และสาระสำคัญเป็นหลัก
2. หลักสูตรหมวดวิชา (Fusion or Fused Curriculum)
แยกออกเป็นรายวิชาย่อย ๆ เช่น วิชาภาษาไทยประกอบด้วยรายวิชาย่อย ๆ ได้แก่ คัดไทย เขียนไทย ย่อไทย  เรียงความ เขียนจดหมาย อ่านเอาเรื่อง ไวยากรณ์ สายวิชาอื่น ๆ ก็แยกออกเป็น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เลขคณิต เรขาคณิต ฯลฯ การประเมินผลของการศึกษาหรือการเรียนรู้ของนักเรียนคือ การวัดความสำเร็จด้วยคะแนนความจดจำของเนื้อหาในแต่ละวิชา
 
3. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชานำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน การจัดให้มีการสัมพันธ์ระหว่างวิชาในระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
4. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Fields Curriculum)
หลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา(ซึ่งมีหลักสูตรหมวดวิชาหลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์)หลักสูตรสหสัมพันธ์ยังคงใช้กันอยู่เพราะมีการผสมผสานของความรู้มากกว่านอกจากนี้แล้วการจัดหมวดวิชาเป็นสหสัมพันธ์หรือหมวดวิชาแบบกว้างนี้ก็มักจะทำกันในโรงเรียนระดับประถมและระดับมัธยมต้นมากกว่าระดับมัธยมปลาย
 
5. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)
มีลักษณะคล้ายกับ หลักสูตรหมวดวิชา  หลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเข้าอยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกันแต่เน้นวิธีการแก้ปัญหา 
6. หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum)
หลักสูตรประสบการณ์เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัดเพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลางแต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
7. หลักสูตรบูรณาการ (Integration or Integrated Curriculum)
หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชาแล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการ

บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต
การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
         การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน 
    ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ 
3.กิจกรรมการเรียนการสอน 
4.การประเมินผล                                    
 ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน 
     กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
           1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
          2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
          3. ความต่อเนื่อง  หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
           4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง   การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น
          5. การบูรณาการ    เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
         6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...