วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

หลักสูตรแกน


หลักสูตรแกน
          เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
พัฒนาการ/วิวัฒนาการของหลักสูตร  เริ่มจากการใช้วิชาเป็นแกนกลาง โดยเชื่อมเนื้อหาของวิชาที่สามารถนำมาสัมพันธ์กันได้ เข้าด้วยกัน แล้วกำหนดหัวข้อขึ้นให้มีลักษณะเหมือนเป็นวิชาใหม่เช่น นำเอาเนื้อหาของวิชาชีววิทยา สังคมศึกษา และสุขศึกษามาเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อ “สุขภาพละอนามัยของท้องถิ่น” โดยหลักสูตรแกนคือหลักสูตรที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน และเป็นหลักสูตรที่เน้นให้เรื่องปัญหาสังคมและค่านิยมของสังคม โดยมีกำหนดเค้าโครงของสิ่งที่จะสอนไว้อย่างชัดเจน
หลักสูตรแกนในเอเชีย
          ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ใช้หลักสูตรแกนอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายปะเทศ เช่นจีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพของหลักสูตรแกนของประเทศต่างๆในเอเชียชัดเจนยิ่งขึ้นขอนำเอาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องมาสรุปเปรียบเทียบให้เห็นดังต่อไปนี้
          - ระดับการผสมผสานวิชาในหลักสูตร ที่มีการผสมผสานกันอย่างมากมาย ได้แก่ หลักสูตรของประเทศศรีลงกา ไทย เวียดนาม และนิวซีแลนด์ ผสมผสานระดับปานกลาง ไดแก่ ของจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ส่วนหลักสูตรของเนปาลนั้นมีการผสมผสานกันน้อยมาก
ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรแกน
          หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตร จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...