วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

หลักสูตรรายวิชา


หลักสูตรรายวิชา
          เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่ หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1.       จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2.       จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3.       จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ เป็นสำคัญ
4.       โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5.       5. กิจกรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6.       6. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา
ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ส่วนดี
-      จุดมุ่งหมายของหลักสูตรช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
-      เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบเป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
-      การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
-      การประเมินผลการเรียนทำได้ง่าย
ส่วนเสีย
-      หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
-      หลักสูตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลักเหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
-      หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามรถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้
การปรับปรุงหลักสูตร                                                                                                    
            1. จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องกัน คือจัดเนื้อหาที่อยู่ในชั้นเดียวกันหรือระหว่างชั้นให้ต่อเนื่องกัน โดยรักษาความเป็นวิชาของแต่ละวิชาไว้ การจัดมีอยู่ 2 แบบคือ
จัดให้ต่อเนื่องตามแนวนอน คือการจัดเนื้อหาของวิชาหนึ่งให้สัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับของอีกวิชาหนึ่งซึ่งอยู่ในชั้นเดียวกัน
จัดให้ต่อเนื่องในแนวตั้ง คือ การจัดเนื้อหาที่อยู่ต่างชั้นกัน
2. จัดโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน คือจัดเนื้อหาของแต่ละวิชาให้เชื่อมโยงกัน ในลักษณะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันทำได้ 2 ระดับ คือ
ระดับความคิด คือการพัฒนาความสามรถทางปัญญา อันได้แก่ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติและความพึงพอใจ
ระดับโครงสร้าง คือ การจัดให้เนื้อหาในแต่ละวิชาเอื้อประโยชน์แต่กันและกัน อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อวิชาอื่นๆด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...