ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
Ø การพัฒนาหลักสูตรในแง่ของปรัชญา ปรัชญาใดที่สมควรนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุผลใด
ตอบ อัตถิภาวนิยม
/ สวภาพนิยม (Existentialism) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนดหรือแสวงหาสิ่งสำคัญ และตัดสินใจด้วยตนเอง
การจัดการศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง เพราะในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีเติบโตไปอย่างรวดเร็ว เด็กต้องมีเสรีภาพที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจของตัวผู้เรียนเอง เพื่อพัฒนาทักษะ พัฒนาความรู้ของตัวผู้เรีอน
กิจกรรม (Activity)
Ø สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง นิยามความหมาย :
ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร
และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ
ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า
การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์
ราชบัณฑิตยสถาน
(2542:
504) ให้ความหมายคำว่า “ทฤษฎี” หมายถึง ความเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา
เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ
ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ
แคปแลน (Kaplan,
A. 1964) กล่าวไว้ว่า “ทฤษฎี” เป็นแนวทางที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลด้วยการกระทำอย่างมีประสิทธิผลในการทำความเข้าใจจากปรากฏการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การละทิ้งหรือปรับเปลี่ยนสถานการณ์ต่างๆ
เข้าด้วยกันและทดแทนด้วยสถานการณ์ใหม่ที่ต้องการ
ทฤษฎีหลักสูตร : นิยาม ความหมาย
“ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์
ตามทัศนะของโบแชมพ์
วิชา “การพัฒนาหลักสูตร”
คือ ชุดของรายวิชา และเนื้อหาที่ใช้ในการสอนระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะสถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตครู
โดยที่วิชาการพัฒนาหลักสูตร มีเนื้อหาสาระความรู้ที่หลากหลายซับซ้อน
สอดคล้องกับนิยามคำว่า “หลักสูตร” ที่ว่า
หลักสูตร คือ กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า (Tyler. 1949;
Smith 1996) หลักสูตร คือ แผน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ (Taba
1962) หลักสูตรเป็นกระบวนการการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ของมนุษย์ (Grundy.
1989) นิยามต่างๆเหล่านี้ ยังคงสอดคล้องกับความหมายเดิมของคำว่า “currere”
ซึ่งเป็นรากศัพท์ในภาษาละตินของคำว่าหลักสูตร ซึ่งหมายถึง “ลู่วิ่ง” ที่ผู้เรียนจะต้องออกวิ่งไปให้ถึงจุดหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้กำหนดไว้
ปริ้น
(Print, 1993: 110) ให้ความเห็นว่าหลักสูตรมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับวิชาชีพครู
การศึกษาทางด้านหลักสูตรเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโปรแกรมวิชาชีพครู
ดังนั้นครูจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและมีความเข้าใจในกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร
เมื่อพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับหลักสูตร มีคำถามพื้นฐานที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1)สอนอะไร 2)สอนอย่างไร 3)สอนเมื่อไหร่
4)อะไรเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาอันเป็นผลจากการสอน
ในการเรียนรู้
วิชาการพัฒนาหลักสูตร สรุปสาระสำคัญดังต่อไปนี้
หลักสูตร :
นิยาม ความหมาย
นักการศึกษาและผู้ศึกษาทางด้านหลักสูตรได้ให้ความหมายของหลักสูตรแตกต่างกันออกไป
ดังนี้
กาญจนา คุณารักษ์ (2540
:14) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง โครงการหรือแผนข้อกำหนดอันประกอบด้วย
หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง
กิจกรรมและวัสดุต่างๆในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนมีความสามารถและเกิดการเรียนรู้
โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง
ธำรง บัวศรี (2542 : 7) ได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า
หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหากิจกรรม
และประมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา
เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆตามจุดหมายที่กำหนดไว้
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554 : 95) ได้กล่าวถึง
ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร (curriculum) มีรากศัพท์จากภาษาละตินว่า
“race – course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน
เนื่องมาจากเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแห่งอนาคต
และในปัจจุบันความหมายของหลักสูตร หมายถึง
มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ
รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ
ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ทาบา (Taba 1962 : 10) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
การพัฒนาผลการเรียนรู้
การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมาย
การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้
โบแชมพ์ ( Beauchamp 1981 : 61-62) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตร คือ 1. ความหมายของหลักสูตรในขอบเขตของศาสตร์สาขาหนึ่ง
ซึ่งศึกษาถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตร วิธีใช้หลักสูตร 2. ความหมายของหลักสูตรในขอบเขตของข้อกำหนดเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ
ปริ้น ( Print.M.1993 : 9) ได้ศึกษานิยามของนักพัฒนาหลักสูตรแล้ว
ปริ้นสรุปว่า หลักสูตรจะกล่าวถึง
- แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- สิ่งที่เสนอในสถาบันการศึกษา/
โปรแกรมการศึกษา
- การนำเสนอในรูปเอกสาร
- รวมถึงผลของประสบการณ์จากการนำเอกสารต่างๆไปใช้
จากการศึกษานิยาม
“หลักสูตร” สรุปได้ว่า “หลักสูตร (Curriculum)” หมายถึง
ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้
ซึ่งจัดกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
1. หลักสูตรเป็นผลผลิตในรูปแบบ เอกสาร
สื่ออีเล็คทรอนิคส์ หรือมัลติมีเดีย เป็นต้น
2. หลักสูตรเป็นโปรแกรมการศึกษา
โดยปกติเขียนในรูปแบบหลักสูตรรายวิชา
การจัดลำดับของมาตรฐานในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
3. หลักสูตรเป็นความตั้งใจเพื่อการเรียนรู้
จะบอกจุดหมาย เนื้อหาสาระ มโนทัศน์ หลักการทั่วไป และผลการเรียนรู้
4. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ของผู้เรียน
มีกิจกรรม ทั้งที่มีการวางแผนและไม่ได้วางแผนไว้
5. หลักสูตรแฝง
ไม่ได้เป็นรูปแบบหลักสูตรโดยตรง แต่จะเป็นสิ่งใดหรืออะไรก็ตาม
ที่ผู้เรียนเรียนรู้ที่ไม่ได้วางแผนไว้
หรือถึงแม้จะไม่ได้เป็นความคาดหวังไว้แต่เป็นไปได้
ทฤษฎีหลักสูตร
การศึกษา
“ทฤษฎีหลักสูตร”
มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “ทฤษฎี” เป็นพื้นฐาน
จากนั้นจึงทำความเข้าใจในความหมายของคำว่า “ทฤษฎีหลักสูตร”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น