พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
ปรัชญาการศึกษานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร
โดยใช้กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาสาระและนำมาจัดหลักสูตรได้อย่างเป็นระบบ ทำให้หลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ ปรัชญามุ่งศึกษาชีวิตและจักรวาล
ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์
ปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา
คือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา
นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา
สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน
ลักษณะปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นระบบที่แน่นอนพอสมควร โดยทั่วไปประกอบด้วยประเด็นดังนี้
๑. คำจำกัดความของการศึกษา
2. ความมุ่งหมายของการศึกษา
3. นโยบายหรือแนวทางเพื่อการปฏิบัติในการจัดการศึกษา
4. เรื่องอื่นๆ เช่น วิธีการสอนที่จะให้เกิดการเรียนรู้
ปรัชญาการศึกษาจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นระบบที่แน่นอนพอสมควร โดยทั่วไปประกอบด้วยประเด็นดังนี้
๑. คำจำกัดความของการศึกษา
2. ความมุ่งหมายของการศึกษา
3. นโยบายหรือแนวทางเพื่อการปฏิบัติในการจัดการศึกษา
4. เรื่องอื่นๆ เช่น วิธีการสอนที่จะให้เกิดการเรียนรู้
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554) สรุปสาระสำคัญของปรัชญาการศึกษาไว้
ดังนี้
สารัตถนิยม
(Essentialism) การศึกษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรม และอุดมการณ์ทางสังคม
การจัดการเรียนการสอนเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระต่างๆ ให้กับผู้เรียน
นิรันตรนิยม
/ สัจจนิยม (Perennialism) มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผล การควบคุมตนเอง
การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนจดจำ การใช้เหตุผล และตั้งใจทำสิ่งต่างๆ
อัตถิภาวนิยม
/ สวภาพนิยม (Existentialism) มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้กำหนดหรือแสวงหาสิ่งสำคัญ และตัดสินใจด้วยตนเอง
การจัดการศึกษาจึงให้เสรีภาพในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง
ปฏิรูปนิยม
(Reconstructionism) การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม
การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของ
พิพัฒนนิยม
(Progressivism) การดำรงชีวิตที่ดี อยู่บนพื้นฐานของการคิดและการกระทำ
การจัดการเรียนการสอน เน้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือกระทำ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
นอกจากนี้
วิชัย วงษ์ใหญ่ กล่าวถึงประโยชน์ของวิธีการทางปรัชญาที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตร
ไว้ดังนี้
1.การจัดจำแนกระบบความคิดความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาที่จะสะท้อนไปสู่การพัฒนาหลักสูตร
2.ปรัชญาเป็นพื้นฐานและเป็นตัวนำไปสู่การตรวจสอบ เสนอแนะเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา ตรวจสอบความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายการศึกษากับสังคม
2.ปรัชญาเป็นพื้นฐานและเป็นตัวนำไปสู่การตรวจสอบ เสนอแนะเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา ตรวจสอบความสอดคล้องของจุดมุ่งหมายการศึกษากับสังคม
3.กระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างกว้างขวาง
วิธีการทางปรัชญาจะช่วยทำให้เกิดความคิดแบบองค์รวม มีเอกภาพทางความคิด
4.วิธีการทางปรัชญา จะทำการวิเคราะห์สาระและธรรมชาติของการศึกษา เช่น
ความรู้อะไรที่เป็นประโยชน์ และการจัดการศึกษาอย่างไร
จึงจะพัฒนาชีวิตของคนให้มีคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น