พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรนั้น
นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา
ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร
มีพฤติกรรมอย่างไร
จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)
นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว
ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียนซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังนี้
โดนัล คลาก (Donald Clark) กล่าวว่าขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความจำเป็นและใช้ประโยชน์ได้มาก
เมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอโปรแกรมการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆดังต่อไปนี้
- จำนวนผู้เรียน
- ทำเล/ที่ตั้งของผู้เรียน
- การศึกษาและประสบการณ์ของผู้เรียน รวมถึงประสบการณ์ในปัจจุบัน
- ภูมิหลังของผู้เรียน
- ทำเล/ที่ตั้งของผู้เรียน
- การศึกษาและประสบการณ์ของผู้เรียน รวมถึงประสบการณ์ในปัจจุบัน
- ภูมิหลังของผู้เรียน
-
ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานที่ต้องการกับระดับทักษะในปัจจุบัน
- ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียน
- สิ่งเร้าของผู้เรียน
- แรงจูงใจของผู้เรียน
- ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน
- ความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน
- สิ่งเร้าของผู้เรียน
- แรงจูงใจของผู้เรียน
- ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน
- ความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียน
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของประชากรกลุ่มเป้าหมายในการจัดการศึกษา
โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ภาพรวมของผู้เรียนว่าผู้เรียนอยู่ในระบบการศึกษาแบบใด
เพื่อมุ่งค้นหาผู้สอนได้อย่างถูกต้องแน่นอน ซึ่งผลการวิเคราะห์ผู้เรียนจะช่วยปรับปรุงผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความจำเป็นของผู้เรียน
คอคซิม ( Cogsim) เสนอแนวคิดในการวิเคราะห์ผู้เรียน
โดยกำหนดคำถามเกี่ยวกับผู้เรียนในประเด็นต่างๆดังนี้
- ทักษะ(skill) และเจตคติ(attitudes)
- ประสบการณ์(experiences)
- มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน(misconceptions
- ทักษะ(skill) และเจตคติ(attitudes)
- ประสบการณ์(experiences)
- มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน(misconceptions
- สถานภาพของผู้เรียน (demographics)
- เป้าหมาย(goal)
- การนำไปใช้(uses)
- แบบการเรียนรู้ที่ต้องการ(preferred learning styles)
- แรงจูงใจ(motivations)
- ความสามารถทางภาษา(language abilities)
- ศัพท์เฉพาะ(technical vocabularies)
กรมวิชาการ
และคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
กล่าวสรุปว่า
วิธีวิเคราะห์ผู้เรียนที่จะช่วยให้ผู้สอนได้รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายที่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแล้วนำไปจัดกลุ่มผู้เรียนในลักษณะกลุ่มเหมือน
หรือกลุ่มคละ หรือกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะในเรื่องทักษะ
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเช่น การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การทำแบบทดสอบก่อนเรียน ระเบียนสะสม แฟ้มผลงาน บันทึกสุขภาพ เป็นต้น
3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำเสนอให้เห็นองค์รวมของผู้เรียนใน 3 ด้านคือ ความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะ และวิธีการเรียนรู้
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีหลายวิธีเช่น การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การทำแบบทดสอบก่อนเรียน ระเบียนสะสม แฟ้มผลงาน บันทึกสุขภาพ เป็นต้น
3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยนำเสนอให้เห็นองค์รวมของผู้เรียนใน 3 ด้านคือ ความสนใจ สติปัญญา วุฒิภาวะ และวิธีการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น