วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test) - กิจกรรม (Activity)


ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
Ø การนำกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร  จะมีสาระสำคัญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ  แนวคิดและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่นิยมนำมาใช้ในการวางแผนหลักสูตร (curriculum planning) ในปัจจุบัน เรียกว่าแนวคิดการบริหารทางวิทยาศาสตร์ (scientific management) ซึ่งเป็นแนวคิดของนักหลักสูตรกลุ่มผลผลิต (product approach) หรือหลักสูตรที่กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (desirable result) ในรูปของคุณลักษณะหรือสมรรถนะในด้านความรู้และทักษะของผู้เรียนเป็นปลายทางของการพัฒนาผู้เรียน แนวคิดหลักสูตรกลุ่มผลผลิตนี้เป็นฐานสำคัญที่ก่อให้เกิดกระแสการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ (outcome based-education) และก่อให้เกิดรูปแบบหลักสูตรใหม่ตามมา ได้แก่ หลักสูตรอิงมาตรฐาน (standards-based curriculum) และหลักสูตรอิงสมรรถนะ (competencies based-curriculum) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารูปแบบของหลักสูตรจะมีความแตกต่างในด้านการกำหนดเป้าหมาย แต่หลักสูตรในกลุ่มนี้ ล้วนแต่มีวิธีการดำเนินการพัฒนาบนกระบวนการหรือขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน และขั้นตอนเหล่านั้น มาจากแนวคิดของนักหลักสูตรกลุ่มผลผลิต 
กิจกรรม (Activity)
Ø สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ  จากข้อกฎหมายที่สถานศึกษาต้องไปดำเนินการให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรได้เอง ภายใต้กรอบของหลักสูตรแกนกลาง เป็นเรื่องที่จะต้องมีการเตรียมการให้พร้อม ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 27 ที่กำหนดให้
“ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และในวรรคสองกำหนดให้ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนเกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ”
            ซึ่งจะเห็นได้ว่าจุดมุ่งหมายในส่วนของหลักสูตรแกนกลางที่จัดทำโดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นไปอย่างกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จะได้นำไปจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม สำหรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทกับสถานศึกษานั้นๆต่อไปโดยการวางแผนหลักสูตรท้องถิ่น ในที่นี้เป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมาจัดเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ใช้ข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กล่าวคือ การวิเคราะห์เชื่อโยงข้อมูลท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น มาบูรณาการการจัดกระบวนการทางการศึกษา การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 
            การเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความแปลกแยกกับท้องถิ่น สามารถดำเนินชีวิตและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงรอบๆตัว การเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เป็นการประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาทางการศึกษาและท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าตามความต้องการและเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...