วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่


การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
จังหวัดเชียงใหม่

1.จุดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ที่จะมาใส่ในหลักสูตรท้องถิ่นสรุปได้ดังนี้
1.1 ภูมิศาสตร์
จังหวัดเชียงใหม่ (ตัวอำเภอเมือง) ตั้งอยู่ ณ ละติจูด 18 องศาเหนือ ลองติจูด 98 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 428 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
-ทิศเหนือ โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกล้า ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
-ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
-ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของน้ำแม่กก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูน
-ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีดอยผีปันน้ำ ดอยขุนแม่ตื่น เป็นเส้นกั้นอาณาเขต


1.2 ประวัติศาสตร์
จังหวัดเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่ มีชื่อที่ปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาไทยมาตั้งแต่พระยามังรายได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1839 ซึ่งมี อายุครบ 710 ปี ในปี พ.ศ.2549 และเมืองเชียงใหม่ได้มีวิวัฒนาการ สืบเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ตลอดมา เชียงใหม่มีฐานะเป็นนครหลวงอิสระ ปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ.1839-2100) ในปี พ.ศ.2101
1.3 ศาสนา
-ศาสนาที่ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ คือ ศาสนาพุทธ 91.80 %
-ศาสนาอิสลาม 1.17%
-ศาสนาคริสต์ 5.60%
-ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
-ซิกส์ 0.02%
-ศาสนาอื่น ๆ1.41%
1.4 สถานที่ท่องเที่ยว
จังหวัดเชียงใหม่คือ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน นอกจากนี้ยังมีสถานที่อื่น ๆ ที่ชาวจังหวัดเชียงใหม่เคารพนับถือ คือ วัดเจดีย์หลวง ศูนย์กลาง วัดสวนดอก (บริวารเมือง) ทิศตะวันตก วัดเจ็ดยอด (อายุเมือง) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ วัดเชียงยืน (เดชเมือง) ทิศเหนือ วัดชัยศรีภูมิ 
(ศรีเมือง) เป็นต้น


1.5 คำขวัญ
ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์
1.6 ดอกไม้ประจำจังหวัด ต้นทองกวาว
1.7  ประเพณีประจำจังหวัด

ประเพณียี่เป็ง ประเพณีเข้าอินทขิล ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ และมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ

2.นำเนื้อหาดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ใด
สาระการเรียนรู้
เนื้อหาท้องถิ่น
1.ภาษาไทย
ภาษา 13 ชนเผ่า
2.คณิตศาสตร์
ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ภูเขา ป่าไม้ แหล่งน้ำ ดิน ฟ้าอากาศ ที่ทำกิน อาชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคม
3.วิทยาศาสตร์
วิธีทำเกษตร การดูแลสภาพป่าในพื้นที่ภูเขา
4.สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม
วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร อาชีพ และเศรษฐกิจทางสังคม
5.สุขศึกษา พละศึกษา
คุณค่าด้านโภชนาการ สุขอนามัย
6.ศิลปะ
การทอผ้าตีนจก เครื่องแต่งกายประจำชนเผ่า
7.การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
เน้นอาชีพของคนเชียงใหม่ การเกษตร การทอผ้า
8.ภาษาต่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ


3.นำเนื้อหามาผสมผสานในหลักสูตรใหม่อาจทำได้หลายลักษณะเช่น
ก) ใช้เป็นเนื้อหาสอน  เช่น เมื่อสอนเรื่องตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหาในการสอน
ข) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น การสอบถามเรื่องรายได้ของคนในท้องถิ่นว่าได้มากหรือน้อยเพียงใด และสามารถดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตนอย่างมีความสุขหรือไม่
ค) ใช้เป็นโครงงาน  ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
ง) ใช้ปัญหาเป็นฐาน  ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
จ) ใช้เป็นประเด็น  ให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น  เชียงใหม่  แปลว่า  มีลักษณะอย่างไร  มากน้อยเพียงใด มีอะไรสูญหายไปบ้างหรือไม่  ถ้าสูญหายทำไมถึงสูญหายไป
ฉ) ใช้เป็นสถานไปทัศนศึกษา  เช่น วัดหรืออุทยานแห่งชาติต่าง ๆ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนหัว

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร   โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช   สาขาหลักสูตรและการสอน ผู้จัดท...